วอแรนต์ IVL-W1 และ IVL-W2

ไอวีแอลแสดงความสามารถและความเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจระดับโลกด้วยยอดขาย 9 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาในปี 2556 ช่วงที่ผ่านมาเราประสบความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการและการเริ่มโครงการใหม่หลายโครงการ ทำให้เรากลายเป็นบริษัทผู้ผลิต PET รายใหญ่ที่สุดของโลกที่มีฐานการดำเนินงานในประเทศไทย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไอวีแอลได้สร้างส่วนผสมทางธุรกิจที่มีความเป็นเอกลักษณ์ภายใต้กลยุทธ์ 3 ด้าน อันได้แก่ การกระจายธุรกิจเพื่อให้เติบโต ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ และ การควบรวมธุรกิจวัตถุดิบ

เรายังคงสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคตไปจนถึงปี 2561 ภายหลังจากการเข้าซื้อกิจการบริษัท PHP Fibers บริษัท Turkpet และบริษัท SASA ซึ่งเป็นโอกาสที่หาได้ยากและจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กิจการมากขึ้นในอนาคต ไอวีแอลมีการร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในเมืองอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในโครงการอะโรมาติกส์ระดับโลก คาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตในปี 2561และจะเอื้อต่อการควบรวมไปยังวัตถุดิบเพิ่มเติมในภูมิภาคที่ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของไอวีแอล บริษัทฯ มีการเปิดเผยโครงการดังกล่าวในแผนธุรกิจปี 2561 ในงาน Capital Day เมื่อเดือนมกราคม 2557 โดยในแผนธุรกิจมีการคาดการณ์กำไรตามหลักความระมัดระวัง ซึ่งต่ำกว่าอัตรากำไรของไอวีแอลในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) ร้อยละ 8 หลังจาก งาน Capital Day เราได้เห็นความเชื่อมั่นทางธุรกิจเชิงบวก แม้ว่าบริษัทฯ จะเคยให้ข้อมูลไว้ว่า โครงการภายใต้แผนธุรกิจปี 2561 จะใช้เงินทุนภายในบริษัท แต่ไอวีแอลมองเห็นโอกาสในการเติบโตเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการลงทุนวัตถุดิบต้นทุนต่ำจากก๊าซธรรมชาติที่ได้จากชั้นหิน (Shale Gas) และการลงทุนในธุรกิจผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่มีกำไรสูง เพื่อขยายความสามารถทางธุรกิจของเราในปัจจุบัน เรามีความคืบหน้าในการหารือโครงการเอทิลีนและ MEG ที่ได้จากชั้นหินในอเมริกาเหนือและยังมีการควบรวมและเข้าซื้อกิจการอื่นๆ ที่น่าสนใจและเป็นโอกาสที่หาได้ยากอีกด้วย

โอกาสใหม่เหล่านี้จำเป็นต้องใช้เงินทุนในอนาคตและไอวีแอลกำลังจัดเตรียมแผนการจัดหาเงินทุนด้วยการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (Warrant) ที่ไม่มีต้นทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นรายเดิม เพื่อเป็นการแสดงความโปร่งใสสำหรับการระดมทุนในอนาคต และเพื่อตอบแทนสำหรับการสนับสนุนการเติบโตของบริษัทฯ ที่ดีเสมอมา

ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ หรือ วอแรนต์ คือ ตราสารอนุพันธ์ที่ให้สิทธิที่จะซื้อหุ้นของไอวีแอล ณ ราคาที่ถูกระบุ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ความแตกต่างระหว่างวอแรนต์และคอลออปชั่น คือ วอแรนต์ถูกดำเนินการและรับรองโดยบริษัท ในขณะที่คอลออปชั่นเป็นวิธีการแลกเปลี่ยนซึ่งบริษัทไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการ นอกจากนี้อายุของวอแรนต์ถูกกำหนดเป็นปี ส่วนคอลออปชั่นถูกกำหนดเป็นเดือน

วัตถุประสงค์หลัก:
  • เพื่อระดมทุนสำหรับอนาคตในการใช้เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือจาก “แผนธุรกิจปี 2561”โครงการเหล่านี้ถูกเรียกว่า “โอกาสใหม่นอกเหนือจากแผนธุรกิจปี 2561”
  • เพื่อรักษาโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับองค์กรอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
วัตถุประสงค์รอง:
  • เพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นบริษัทฯมาเป็นเวลานานด้วยการมอบวอแรนต์ให้โดยไม่มีต้นทุน (สามารถนับว่าเป็นเงินปันผลพิเศษได้)

โครงการที่อยู่ในแผนธุรกิจปี 2561 มีเงินทุนครบถ้วนแล้ว แต่บริษัทฯคาดว่าจะมีโอกาสใหม่เกิดขึ้นภายในช่วง 2 – 3 ปีข้างหน้า และไอวีแอลคาดการณ์ว่า จะต้องใช้เงินทุนตั้งแต่ปี 2559เป็นต้นไปเพื่อการลงทุนในโอกาสใหม่เหล่านี้ การออกวอแรนต์จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมกว่าสำหรับความต้องการในอนาคต

ไอวีแอลไม่ต้องการเงินทุนในเวลานี้ การออกวอแรนต์ทำให้ไอวีแอลสามารถระดมทุนภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อรองรับความต้องการเงินสดในอนาคตได้ ยิ่งไปกว่านั้น เราต้องการตอบแทนผู้ถือหุ้นรายเดิมด้วยการมอบวอแรนต์ที่ไม่มีต้นทุนและสามารถซื้อขายได้ การออกวอแรนต์ที่มีต้นทุนเป็นศูนย์ให้กับนักลงทุน ทำให้นักลงทุนปัจจุบันมีความคล่องตัวในการตัดสินใจว่าจะใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนหรือไม่ หรือจะตัดสินใจซื้อขายเมื่อใดในอนาคต

เราต้องการให้ผู้ถือหุ้นรายเดิมของบริษัทฯได้มีส่วนร่วมในอนาคตของไอวีแอล และต้องการตอบแทนผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นของบริษัทฯมาเป็นเวลานาน การเพิ่มทุนหุ้นสามัญด้วยการจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและเป็นธรรมกับผู้ถือหุ้นที่สุด ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ถ้าหากผู้ถือหุ้นปัจจุบันเข้าร่วมการเพิ่มทุนหุ้นสามัญครั้งนี้ก็จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิม

การเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปใช้เวลานานกว่าเนื่องด้วยขั้นตอนการอนุมัติของ ก.ล.ต. และมีค่าใช้จ่ายมากกว่าเพราะมีค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายสูง การเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปยังส่งผลให้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิมลดลง และในกรณีที่มีการขายหุ้นในราคาที่มีส่วนลด จะทำให้ราคาหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมลดลงด้วยเช่นกัน

การเสนอขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงในวงจำกัดมีผลให้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิมลดลง และในกรณีที่มีการขายหุ้นในราคาที่มีส่วนลด จะทำให้ราคาหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิมลดลงด้วยเช่นกัน

โครงสร้างของการออกวอแรนต์

เราต้องการที่จะบริหารเวลาในการหาเงินทุนจากการออกวอแรนต์ เพื่อลดผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้นที่จะส่งผลไปยังผู้ถือหุ้นของไอวีแอลอันเป็นผลมาจากการที่วอแรนต์มีสภาวะ in-the-money(การใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทได้ต่ำกว่าราคาตลาด)ในช่วงที่เป็นระยะเวลาการใช้สิทธิ

ข้อดีของการแบ่งวอแรนต์ออกเป็น 2 ชุด คือ บริษัทฯ มีโอกาสที่จะได้รับเงินทุนจากการใช้สิทธิตลอดช่วงระยะเวลาการใช้สิทธิของวอแรนต์ชุด IVL-W1 และ IVL-W2ซึ่งจะสอดคล้องกับความต้องการเงินทุนสำหรับโครงการใหม่ได้ดีกว่า วิธีนี้ยังช่วยให้ราคาการใช้สิทธิทั้ง 2 ราคาเกิดขึ้นในระยะเวลาการใช้สิทธิ 2 ช่วง ซึ่งทำให้เรามีโอกาสในการออกหุ้นใหม่ในราคาตลาดที่เหมาะสมต่อช่วงเวลานั้น และช่วยบรรเทาผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้นที่อาจเกิดขึ้นในขณะนั้นด้วย

ข้อเสียของการรวมวอแรนต์ทั้ง 2 ชุดไว้อยู่ในชุดเดียวกันคือ ความเสี่ยงที่อาจทำให้ไม่ได้รับรู้เงินทุนจากการใช้สิทธิจนกว่าวอแรนต์จะครบกำหนดอายุ การรวมวอแรนต์เป็นชุดเดียวจะทำให้สามารถกำหนดราคาการใช้สิทธิได้เพียงราคาเดียว ถ้ากำหนดราคาการใช้สิทธิอยู่ที่ราคาของIVL-W1ความเสี่ยงคือจะเกิดผลกระทบต่อราคาตลาดของหุ้นบริษัทเป็นอย่างมาก แต่หากราคาการใช้สิทธิถูกกำหนดไว้ที่ราคาของ IVL-W2ความเสี่ยงก็คือการที่วอแรนต์จะมีสภาวะ out-of-the-money(ราคาหุ้นในตลาดต่ำเกินไปที่จะผลักดันให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิ)

ถึงแม้ว่า IVL-W1 และ IVL-W2 จะเป็นวอแรนต์คนละชุดกัน แต่มีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนอย่างเดียวกัน คือ การจัดหาเงินทุนสำหรับ “โอกาสใหม่นอกเหนือจากแผนธุรกิจปี 2561” ไอวีแอลไม่มีเหตุผลสำหรับการรอเวลาเพื่อออกวอแรนต์ชุด IVL-W2 เนื่องจากเราสามารถประมาณการได้เป็นอย่างดีว่าต้องการเงินทุนเป็นจำนวนเท่าไรสำหรับโครงการในอนาคต

บริษัทฯได้มีการสื่อสารเรื่องการออกวอแรนต์ไปยังนักลงทุนเกี่ยวกับแผนการระดมทุนที่มีความชัดเจนและรอบคอบเพื่อลงทุนใน “โอกาสใหม่นอกเหนือจากแผนธุรกิจปี 2561”โดยมีการชี้แจ้งเงื่อนไขของวอแรนต์เกี่ยวกับช่วงเวลาที่ต้องการใช้เงินทุนและจำนวนเงินทุนที่ต้องการในอนาคต จึงไม่จำเป็นต้องรอ

ไอวีแอลต้องการอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของวอแรนต์ IVL-W1ให้กับผู้ถือหุ้น จึงกำหนดให้การใช้สิทธิครั้งแรกเร็วและทิ้งช่วงระยะเวลาการใช้สิทธิประมาณ 3 ปี วอแรนต์อาจมี หรือ ไม่มีสภาวะIn-the-moneyตามวันกำหนดการใช้สิทธิครั้งแรก แต่ไอวีแอลก็ยังคงต้องการให้ผู้ถือวอแรนต์มีความคล่องตัวในการใช้สิทธิ

ราคาการใช้สิทธิถูกกำหนดโดยการคาดการณ์ผลการดำเนินงานของบริษัทฯในอนาคตและการประมาณการจำนวนเท่าของมูลค่าที่คาดหวัง ไอวีแอลเชื่อว่าราคาการใช้สิทธิของ IVL-W1ณ มูลค่า 36 บาท และ IVL-W2ณ มูลค่า 43 บาท คือราคาที่เหมาะสมและจะทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมได้รับสิทธิประโยชน์ ราคาการใช้สิทธินี้ถูกอ้างอิงจากกิจการที่มีอยู่ของไอวีแอล อันได้แก่ แผนในปี 2561และโอกาสใหม่นอกเหนือจากแผนธุรกิจปี 2561ระยะเวลาการใช้สิทธินี้แสดงถึงระยะเวลาที่คาดการณ์ว่าจะต้องใช้เงินทุนในการดำเนินการโครงการใหม่

จำนวนเงินทุนและเวลาที่ต้องการใช้เงินทุนในอนาคตเป็นปัจจัยในการกำหนดสัดส่วนการจัดสรรวอแรนต์ เมื่อประมาณการระยะเวลาและจำนวนของเงินทุนที่ต้องการสำหรับอนาคตได้ ก็จะสามารถกำหนดการจัดสรรสัดส่วนได้

จากการคำนวณตามอัตราการจัดสรรดังกล่าว ให้ปัดเศษนั้นทิ้ง เช่น ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นจำนวน 27 หุ้น เมื่อคำนวณตามอัตราการจัดสรรแล้วจะได้เท่ากับ 2.70 (27 หารด้วย 10) สำหรับการจัดสรรใบแสดงสิทธิ IVL-W1 ในกรณีนี้ บริษัทฯ จะปัดเศษ 0.70 ทิ้ง โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ IVL-W1 จำนวน 2 หน่วย วิธีการดังกล่าวนี้ใช้ในการคำนวณการจัดสรร IVL-W2 ด้วยเช่นกัน

ร่างกำหนดการสามารถสรุปได้ดังตารางด้านล่างนี้

XR สำหรับกำหนดสิทธิในการรับIVL-W1 และIVL-W2

วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับวอแรนต์ 13-15 สิงหาคม 2557
วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น 18 สิงหาคม 2557
วันที่ออกวอแรนต์ ปลายเดือนสิงหาคม 2557
วันที่ซื้อ - ขายวันแรก ต้นเดือนกันยายน 2557

วอแรนต์: ความจำเป็นต่อการเพิ่มทุน

ไอวีแอลจะคำนึงถึงสภาวะปัจจุบัน เช่น ต้นทุนการกู้ยืม ระดับหนี้สิน ความจำเป็นของการระดมทุน ฯลฯ เพื่อที่จะนำมาคำนวณเป็นอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน โดยไอวีแอลมีข้อปฏิบัติภายในองค์กรที่กำหนดขึ้นเอง คือ การมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 1.5 เท่า

เงินทุนในส่วนนี้จะถูกนำไปใช้ในการลงทุนในโอกาสใหม่ทางธุรกิจซึ่งเพิ่มเติมจากแผนปี 2561ได้แก่ วัตถุดิบต้นทุนต่ำจากก๊าซธรรมชาติที่ได้จากชั้นหิน (Share Feedstock) และการลงทุนในธุรกิจผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่มีกำไรสูงเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงานในปัจจุบันของไอวีแอล

ไอวีแอลคาดการณ์ว่าบริษัทฯจะต้องการเงินจำนวน 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (108,800 ล้านบาท) เพื่อเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนสำหรับโอกาสใหม่นอกเหนือจากแผนธุรกิจในปี 2561(โครงการควบรวมและเข้าซื้อกิจการในประเภทธุรกิจวัตถุดิบต้นทุนต่ำจากก๊าซธรรมชาติที่ได้จากชั้นหิน เพื่อการขยายกิจการในธุรกิจต้นน้ำ) รายจ่ายฝ่ายทุนสำหรับการควบรวมและเข้าซื้อกิจการใหม่นี้ถูกประเมินโดยการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของบริษัทฯและประสบการณ์ด้านการขยายกิจการด้วยการควบรวมและเข้าซื้อกิจการในอดีต

ไอวีแอลคาดว่าบริษัทฯจะต้องจัดหาเงินทุนจำนวน 1,000ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (32,000 ล้านบาท) เพื่อดำเนินโครงการเหล่านี้ บริษัทฯคาดว่าวอแรนต์จำนวน 2 ชุดจะสามารถระดมทุนได้จำนวน 1,039 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (33,255 ล้านบาท) ซึ่งเป็นจำนวนเงินทุนที่เพียงพอต่อความจำเป็นที่คาดว่าต้องใช้

ถ้ามีการใช้สิทธิไม่เพียงพอ และไอวีแอลขาดแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการที่วางแผนไว้ เรามีทางเลือกที่หลากหลายสำหรับการจัดหาแหล่งเงินทุน เช่น การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง การจัดสรรหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น และการจัดสรรหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป รวมถึงการจัดหาเงินทุนแบบผสม เช่น การออกหุ้นกู้ประเภทไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัทเป็นต้น แต่ละทางเลือกขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดในขณะนั้น และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เราสามารถพิจารณาการจัดหาเงินทุนแบบผสม เช่น การออกหุ้นกู้ประเภทไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัทเพื่อระดมทุนส่วนที่ขาดไปได้

หุ้นกู้ประเภทไถ่ถอนเมื่อเลิกบริษัท คือ หุ้นกู้ที่ไม่มีวันครบกำหนดอายุ ไม่สามารถไถ่ถอนได้จนกว่าบริษัทจะเลิกกิจการแต่จะจ่ายดอกเบี้ยให้เรื่อยๆตลอดไป หุ้นกู้ชนิดนี้จัดเป็นส่วนของเงินทุนไม่ใช่หนี้สิน

ในกรณีนี้ ไอวีแอลสามารถใช้สภาพคล่องส่วนเกินนำมาช่วยชำระหนี้ได้ ขึ้นอยู่กับการอนุมัติตามความเหมาะสมขององค์กรและสภาพตลาด และเนื่องจากการที่ไอวีแอลเป็นองค์กรที่เปิดรับโอกาสที่เป็นไปได้เสมอและสามารถเล็งเห็นถึงโอกาสต่างๆในอนาคต ส่วนเกินของเงินทุนจากการระดมทุนนี้จะทำให้ไอวีแอลสามารถลงทุนในโครงการอื่นๆได้ในภายภาคหน้า

วอแรนต์: ผลกระทบที่มีต่อผู้ถือหุ้นเดิม

ผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิมสำหรับ IVL-W1มีอัตราสูงสุดร้อยละ 9*การคำนวณอัตราสูงสุดของผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิมถูกคาดการณ์จากการที่ผู้ถือหุ้นรายเดิมทุกรายที่ได้รับวอแรนต์ ขายวอแรนต์ให้เฉพาะกับผู้ถือหุ้นรายใหม่ ซึ่งในภายหลังผู้ถือหุ้นรายใหม่นี้จะใช้สิทธิทั้งหมดซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม หากผู้ถือหุ้นรายเดิมเลือกที่จะไม่ขายวอแรนต์ให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่ก็จะไม่มีผลกระทบใดๆต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น
* คำนวณจาก จำนวนหุ้นที่กันไว้สำหรับการใช้สิทธิของ IVL-W1 /(จำนวนหุ้นของไอวีแอลที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด) + จำนวนหุ้นที่กันไว้สำหรับการใช้สิทธิของ IVL-W1)

ผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิมสำหรับ IVL-W2 มีอัตราสูงสุดร้อยละ 7*การคำนวณอัตราสูงสุดของผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิมถูกคาดการณ์จากการที่ผู้ถือหุ้นรายเดิมทุกรายที่ได้รับวอแรนต์ ขายวอแรนต์ให้เฉพาะกับผู้ถือหุ้นรายใหม่ ซึ่งในภายหลังผู้ถือหุ้นรายใหม่นี้จะใช้สิทธิทั้งหมดซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม หากผู้ถือหุ้นรายเดิมเลือกที่จะไม่ขายวอแรนต์ให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่ก็จะไม่มีผลกระทบใดๆต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น
* คำนวณจาก จำนวนหุ้นที่กันไว้สำหรับการใช้สิทธิของ IVL-W2 /(จำนวนหุ้นของไอวีแอลที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด) + จำนวนหุ้นที่กันไว้สำหรับการใช้สิทธิของ IVL-W2)

ผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นรายเดิมสำหรับ IVL-W1 และ IVL-W2มีอัตราสูงสุดร้อยละ 15* ผลกระทบการคำนวณอัตราสูงสุดของผลกระทบต่อสิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นเดิมถูกคาดการณ์จากการที่ผู้ถือหุ้นรายเดิมทุกรายที่ได้รับวอแรนต์ ขายวอแรนต์ให้เฉพาะกับผู้ถือหุ้นรายใหม่ ซึ่งในภายหลังผู้ถือหุ้นรายใหม่นี้จะใช้สิทธิทั้งหมดซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ
* คำนวณจาก จำนวนหุ้นที่กันไว้สำหรับการใช้สิทธิของ IVL-W1 และ IVL-W2 /(จำนวนหุ้นของไอวีแอลที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด) + จำนวนหุ้นที่กันไว้สำหรับการใช้สิทธิของ IVL-W1 และ IVL-W2)

ผลกระทบต่อราคาหุ้นของบริษัทในระดับสูงสุดมีอัตราเป็นศูนย์ เนื่องจากราคาการใช้สิทธิของ IVL-W1 และ IVL-W2ถูกตั้งไว้สูงกว่าราคาตลาด (ก่อนการออกวอแรนต์) ดังนั้นแล้วจึงไม่มีผลกระทบให้ราคาต่ำลงเลย

** คำนวณจาก (ราคาตลาดก่อนการออกวอแรนต์– ราคาตลาดหลังออกวอแรนต์) /ราคาตลาดก่อนการออกวอแรนต์

ราคาตลาดหลังการออกวอแรนต์ = ((ราคาตลาดก่อนการออกวอแรนต์ *จำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายของไอวีแอล) + (ราคาการใช้สิทธิ * จำนวนหุ้นที่กันไว้สำหรับการออกวอแรนต์))/ (จำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายของไอวีแอล + จำนวนหุ้นที่กันไว้สำหรับการออกวอแรนต์)

ไอวีแอลไม่สามารถแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการใช้สิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นรายใดก็ตาม เราเพียงมุ่งหวังว่าจะได้รับเงินทุนทั้งหมดตามที่ได้วางแผนไว้