ในขณะที่ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาขยะพลาสติก รัฐบาลได้ดำเนินการก้าวทีสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นของโลกในขณะนี้ โดยไอวีแอลได้มีส่วนร่วมโดยการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสนับสนุนนักเรียน ธุรกิจ ผู้บริโภค และชุมชน เพื่อลดการใช้ นำมาใช้ซ้ำ และรีไซเคิลขยะ เราให้คำมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระดับโลกเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้ทำตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ผ่านความร่วมมือที่ดียิ่งขึ้น และโดยขยายผลกระทบเชิงบวกของการคัดแยกขยะและการรีไซเคิล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่และคุณค่าที่มากขึ้น

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อเข้าร่วมโครงการ 'รักปันสุข' โครงการความยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการรีไซเคิลขวด PET ที่ใช้แล้วโดยมีรับจุดบริจาคขวด PET ที่สถานีบริการน้ำมันบางจากกว่า 100 แห่งทั่วกรุงเทพและปริมณฑลเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดและเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน บริษัท บางจากคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สามารถเก็บรวบรวมขวด PET และนำส่งโรงงานรีไซเคิลของเราได้เป็นจำนวน 600,000 ขวด โดยเส้นใยจากขวด PET ถูกนำไปทำเป็นหมวกเพื่อนำไปมอบแก่กรุงเทพมหานครเพื่อนำไปมอบให้เจ้าหน้าที่ด้านรักษาความสะอาดเพื่อสร้างความตระหนักว่าขวด PET สามารถนำกลับไปเป็นทรัพยากรได้อีกเมื่อกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและรายได้จากโครงการจะนำไปมอบให้กับองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อนำไปทำประโยชน์ต่อไป


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “โค้กขอคืน x Central Group Journey to Zero” โดยร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนและจัดทำระบบส่งเสริมการแยกขยะที่ต้นทางในบริเวณศูนย์การค้าของเซ็นทรัล และนำส่งบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ตลอดจนวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ ที่จัดเก็บได้ให้กับบริษัทพันธมิตรเพื่อนำวัสดุเหล่านั้นเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง โดยทดลองระบบการจัดเก็บนำร่องในร้านอาหารและภัตตาคารในกลุ่มบริษัทเซ็นทรัล ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล อีสต์วิลล์ และเซ็นทรัลพลาซา ทั้งนี้ ไอวีแอลเป็นผู้รับพลาสติกชนิด PET ที่เก็บรวบรวมได้จากโครงการฯ นำไปรีไซเคิลที่โรงงานในจังหวัดนครปฐม พร้อมเป็นหนึ่งในคณะทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกรายร่วมกันระดมความคิดพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ไอวีแอลได้ลงนามความร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน” ซึ่งริเริ่มโดยกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาชิกองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และหน่วยงานภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม ซึ่งภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนได้แสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนโครงการเพื่อจัดการปัญหาขยะและส่งเสริมการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2570 ในปี 2563 เราได้ร่วมกับสมาชิกอื่นๆโดยให้ความรู้แก่และสร้างแรงบันดาลใจแก่นักเรียนถึงข้อดีของการคัดแยกขยะและการรีไซเคิลพลาสติกตามโรงเรียนต่างๆ อีกด้วย


ไอวีแอลลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการคัดแยกการจัดการขยะรีไซเคิล โดยจะร่วมกันพัฒนาสื่อให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะและการรีไซเคิลขยะพลาสติกคิดค้นนวัตกรรมกักเก็บขยะจากแหล่งน้ำไหลก่อนที่ขยะจะเคลื่อนตัวออกสู่ทะเลและสร้างความตระหนักรู้ด้านการคัดแยกขยะและพลาสติก ทั้งนี้ ไอวีแอลจะนำองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการรีไซเคิล มาผนวกกับความรู้เชิงวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการกักเก็บ ดักจับขยะจากทางระบายน้ำ คู คลอง แม่น้ำ หรือจากแหล่งน้ำไหลอื่นๆ ตลอดจนให้การสนับสนุนถังสำหรับคัดแยกขยะ และการอบรมให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะและการรีไซเคิลขยะพลาสติกแก่หน่วยงานในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และองค์กรอื่นๆเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการขยะเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องและสามารถนำขยะพลาสติกรีไซเคิลไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืนต่อไป ภายใต้โครงการสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Green Office)โดยมีการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลรวมทั้งบูรณาการองค์ความรู้ปัจจุบันตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาสื่อให้ความรู้และการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน


มูลนิธิไอวีแอล และองค์กร GEPP ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือใน “โครงการจัดเก็บขยะรีไซเคิลเพื่อความยั่งยืน" เพื่อนำขวดพลาสติก PET มาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) GEPP ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะและวัสดุรีไซเคิลรวมถึงเป็นแหล่งพบปะกันสำหรับผู้ที่ต้องการขายและผู้รับซื้อวัสดุรีไซเคิลในระบบออนไลน์ซึ่งสมาชิกผู้รับซื้อบนแพลตฟอร์มจะให้บริการรับซื้อวัสดุในเขตกรุงเทพฯ ถึงบ้านหรือสำนักงานต่างๆ โดย สมาชิกผู้รับซื้อบนแพลตฟอร์ม GEPP จะรวบรวมวัสดุรีไซเคิลที่รับซื้อมาและคัดแยกเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างเหมาะสมโดยความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยลดจำนวนขยะขวดพลาสติก PET ในชุมชนได้จำนวนมาก รวมถึงเผยแพร่ให้ประชาชนตระหนักถึงความจำเป็น และเรียนรู้วิธีการคัดแยกและจัดเก็บขยะรีเซเคิลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนต่อไป


ไอวีแอลได้เพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจและบริษัทเอกชนที่เราพบโดยทีม CSR สำนักงานใหญ่ได้จัดฝึกอบรมและพาเยี่ยมชมโรงงานรีไซเคิลให้แก่ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย และบริษัท เนสท์เล่ ประเทศไทย แก่ผู้บริหาร ทีมทรัพยากรบุคคล CSR และตัวแทนจากมูลนิธิรักษ์ไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันความรู้เรื่องการแยกขยะและการรีไซเคิล PET เพื่อให้แต่ละหน่วยงานของพวกเขาสามารถจัดการฝึกอบรมการแยกขยะและการรีไซเคิลภายในองค์กร และเราได้รับเชิญจาก บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด ให้เป็นวิทยากรในการให้ความรู้การคัดแยกขยะและการรีไซเคิลแก่ครูที่จังหวัดสระบุรี (โครงการอบรมแก่ครู) นอกจากนี้ เรายังจัดฝึกอบรมแก่พนักงานทุกระดับของโรงแรมสุโกศลเกี่ยวกับการแยกขยะและรีไซเคิล PET เพื่อสร้างความตระหนักในการรีไซเคิล PET เพื่อขยายกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย

ที่ประเทศเม็กซิโกเราเป็นสมาชิกของ ECOCE ซึ่งเป็นสมาคมด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ส่งเสริมการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการรีไซเคิลในเม็กซิโกโดยเราเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการรีไซเคิล PET ที่สนับสนุนโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย