คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ที่ IVL001/02/2013
22 กุมภาพันธ์ 2556

เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ของบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด
(มหาชน) และคำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ทางฝ่ายจัดการของบริษัท ขอนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้

1. สำเนางบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน แบบฟอร์ม 45-3 สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
2555 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ



(นายอาลก โลเฮีย)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ




เลขานุการบริษัท
โทรศัพท์: +66 (0) 2661-6661
โทรสาร: +66 (0) 2661-6664


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาสที่ 4 ปี 2555 และงวด 12 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL รายงานรายได้รวมสำหรับปี 2555 เท่ากับ 6,780
ล้านเหรียญสหรัฐ (211 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับปี 2554 กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย
ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Reported EBITDA) 453 ล้านเหรียญสหรัฐ (14.1 พันล้านบาท)
กำไรสุทธิรวมหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เท่ากับ 148 ล้านเหรียญสหรัฐ (4.6
พันล้านบาท) กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเท่ากับ 471 ล้านเหรียญสหรัฐ (14.6 พันล้านบาท)
และอัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนสุทธิสำหรับดำเนินงานของบริษัทเท่ากับ ร้อยละ 7
ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ล้านเหรียญสหรัฐ ล้านบาท
ไตรมาส
4/2555 ไตรมาส
4/2554 ปี 2555
ปี 2554 ปี 2555
ปี 2554
*รายได้จากการขายรวม 1,647 1,394 6,780 6,102 210,785 186,096
PET 985 975 4,294 4,252 133,478 129,671
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 353 196 1,359 826 42,236 25,184
Feedstock 613 438 2,210 2,056 68,693 62,696
*กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 123 46 453 561
14,097 17,121
PET 42 34 197 285 6,130 8,686
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 13 16 70 83 2,184 2,544
Feedstock 69 - 182 200 5,649 6,114
**กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้
ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) 100 82 451 555 14,023 16,933
PET 26 56 198 288 6,160 8,794
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 11 25 72 80 2,231 2,438
Feedstock 64 6 177 194 5,509 5,927
กำไรสุทธิหลักรวมก่อนหักส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกันและรายการพิเศษ 21 (10) 116 31
6 3,655 9,648
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน (12) (9) (29) (10) (911) (303)
***รายการพิเศษ (4) (54) 61 204 1,868 6,212
กำไรสุทธิหลักรวมหลังหักภาษีเงินได้ และ
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 5 (73) 148 510 4,612 15,557
****รายจ่ายฝ่ายทุน (CAPEX) 101 177 1,387 1,032 43,127 31,487
หนี้สินจากการดำเนินงานสุทธิ 2,321 1,166 2,321 1,166 71,099 36,947
อัตราส่วนหนี้สินจากการดำเนินงานต่อทุน 1.2 0.6 1.2 0.6 1.2 0.6
อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท 6% 1% 7% 16% 7% 16%
กำไรต่อหุ้นต่อปี (บาท) 0.96 3.28
อ้างถึงข้อสังเกต หน้า 13
*ข้อมูลทางการเงินรวมภายหลังการตัดรายการระหว่างกันในบริษัทในกลุ่ม (หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ)
**กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) คือ
กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ตัดรายการกำไร
(ขาดทุน)ในสินค้าคงเหลือ, ***รายการพิเศษ รวมกำไรจากการต่อรองราคาซื้อและค่าประกันความเสียหายจากน้ำท่วม
เป็นต้น, ****รายจ่ายฝ่ายทุน (CAPEX) ใช้เกณฑ์คงค้าง

ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จาก จาก 1.05 ล้านตันในไตรมาสที่ 4 ของปี
2554 เป็น 1.31 ล้านตัน ทำให้ปริมาณการผลิตสำหรับปี 2555 สามารถทำได้ 5.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
เมื่อเทียบกับปี 2554 ไตรมาสที่ 4 จะเป็นไตรมาสที่ตกต่ำที่สุดตามฤดูกาลซึ่งเห็นได้จากผลประกอบการในปี
2555 และ 2554 แม้กระนั้นบริษัทยังสามารถทำกำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) ต่อตันในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 เท่ากับ 77 เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับ
78 เหรียญสหรัฐในไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา รายได้หลักยังคงตกต่ำและส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่มูลค่า PTA,
PET และโพลีเอสเตอร์โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย (ดูการวิเคราะห์อัตรากำไร) ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
- ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่องของประเทศจีน
ซึ่งเห็นได้จากตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันในหลายไตรมาสที่ผ่านมา ประกอบกับ
- อุปทาน PTA ส่วนเกินในทวีปเอเชีย ส่งผลให้อัตรากำไรภายใต้ห่วงโซ่มูลค่าในทวีปเอเชียอยู่ในระดับต่ำ
และส่งผลเล็กน้อยในฝั่งตะวันตก เว้นแต่ ในทวีปยุโรปตอนใต้ซึ่งมีผลกระทบพอควรจากการนำเข้า PET จำนวนมาก
- กิจการใหม่ที่จัดตั้งขึ้นภายในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์แบบเบ็ดเสร็จในประเทศจีนได้ขยายส่วนแบ่งการตลา
ดในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และกดดันอัตรากำไรให้ต่ำอยู่ในระดับไม่ยั่งยืนในระยะยาว
และอาจต่ำกว่าต้นทุนเงินสดของกิจการที่ไม่ได้มีการควบรวมวัตถุดิบ ทั้งในธุรกิจ PET และ PTA

อย่างไรก็ตามในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ กลยุทธ์ในการกระจายรายได้ (ดูรายละเอียดด้านล่าง)
ช่วยให้กลุ่มบริษัทมีผลประกอบการที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง (ดูการวิเคราะห์อัตรากำไร)
ในรอบปีที่ผ่านมากลุ่มบริษัทได้ปรับปรุงต้นทุนอย่างมีสาระสำคัญ
รวมทั้งเพิ่มกำลังการผลิตในตลาดที่เหมาะสม ซึงจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มบริษัทในอนาคต
- การควบรวมธุรกิจ EO และ MEG ในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งมีต้นทุนวัตถุดิบต่ำที่สุด
ช่วงเวลาในการเข้าสู่ธุรกิจดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่อัตรากำไร EO และ MEG อยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
เนื่องจากมีอัตราการใช้ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ในระหว่างการเพิ่มกำลังการผลิต PET ของโรงงาน Alphapet 2
ซึ่งจะควบรวมวัตถุดิบจาก BP ที่ Decatur Alabama
และบริหารจัดการสินทรัพย์ที่มีอยู่ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษที่เพิ่มขึ้น
- เพิ่มรายได้ของผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษเป็น 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ร้อยละ 19 ของรายได้รวมในปี 2555
เทียบกับร้อยละ 10 ในปี 2554 ผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษนี้มีความผันผวนของอัตรากำไรน้อยกว่า
และได้รับผลกระทบจากความผันผวนตามฤดูกาลน้อยกว่า (ดูการวิเคราะห์อัตรากำไร)
- ขยายกำลังการผลิต PET ที่ Rotterdam เพิ่มขึ้น 187 กิโลตันต่อปี
ซึ่งส่งผลให้โรงงานมีความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในทวีปยุโรป และจะช่วยเพิ่มระดับการบริโภค PTA
ที่มีอยู่เดิมอย่างเต็มที่ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และส่งผลดีต่อผลการดำเนินงาน
- ขยายกำลังการผลิต PTA และ PET ในทวีปยุโรป โดยการปรับปรุงเพิ่มเติม ทำให้มีรายจ่ายฝ่ายทุนที่ต่ำกว่า
และประหยัดต้นทุนส่วนเพิ่มมากกว่าการสร้างโรงงานใหม่
ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนของโรงงาน PTA และ PET ที่
Rotterdam นอกจากนี้ยังมีวิธีเดียวกันในการขยายกำลังการผลิต PET ของโรงงานที่ Poland จำนวน 60 กิโลตัน
ซึ่งจะแล้วเสร็จในต้นปี 2557
- การขยายกำลังการผลิต PET ของโรงงาน GIVL ในประเทศจีน ที่เสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 4 ปี 2555
ทำให้กลายเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มบริษัทในปัจจุบัน ด้วยกำลังการผลิตมากกว่า 500
กิโลตันต่อปี และเป็นขนาดที่มากเพียงพอที่จะก่อให้เกิดกำไรได้ในประเทศจีน
- กลุ่มบริษัทเข้าซื้อกิจการ Polypet ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อจะครอบครองส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 44
ของกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทในการเป็นผู้นำในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเ
อสเตอร์ในประเทศไทยและอินโดนีเซีย เพื่อรองรับตลาดภายในประเทศที่มีอัตรากำไรที่สูงกว่าเป็นสำคัญ
การสร้างโรงงานส่วนขยายกำลังการผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ในประเทศอินโดนีเซียกำลังดำเนินการอย่า
งเต็มกำลัง และคาดว่าจะสามารถค้าขายในเชิงพาณิชย์ได้ในครึ่งปีหลังของปี 2556
ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันด้านต้นทุน
และช่วยให้กลุ่มบริษัทเป็นผู้นำในตลาดสิ่งทอที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศอินโดนีเซีย
- ขยายธุรกิจไปยังทวีปแอฟริกา โดยเริ่มตั้งโรงงาน PET ในประเทศไนจีเรีย ด้วยกำลังการผลิต 84
กิโลตันต่อปี ซึ่งเป็นก้าวแรกในภูมิภาคดังกล่าวที่คาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในศตวรรษนี้
- การมุ่งเน้นในความเป็นเลิศด้านต้นทุนส่งผลให้กลุ่มบริษัทได้รับผลประโยชน์เฉลี่ยต่อปี 40
ล้านเหรียญสหรัฐในปี
2555นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการกับกลุ่มบริษัทที่ได้ซื้อเข้ามาในช่วงที่ผ่านมา
จะทำให้กลุ่มบริษัทได้รับผลประโยชน์ด้านต้นทุนในปริมาณที่ใกล้เคียงกันในปี 2556

ความต้องการโดยรวมมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากประโยชน์ของการใช้กลุ่มผลิตภัณฑ์ PET และ
โพลีเอสเตอร์ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเติบโตในอดีตที่ผ่านมา
แสดงให้เห็นถึงปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ที่ยังมีความน่าสนใจ
ธุรกิจของบริษัทฯที่มีการกระจายอยู่ทั่วโลก ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
และการควบรวมภายในห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะใ
นบางภูมิภาคหรือบางกลุ่มผลิตภัณฑ์ (ดูการวิเคราะห์อัตรากำไร)
กระแสเงินสดจากการดำเนินงานยังคงมีความแข็งแกร่ง และเพิ่มขึ้นปีต่อปี ดังจะเห็นได้จากแผนภาพข้างล่าง
บริษัทสามารถรักษาผลการดำเนินงานให้อยู่ในระดับเดียวกับคู่แข่งทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้อย่างต่อ
เนื่อง ถึงแม้บริษัทจะผ่านช่วงขาลงในปี 2555




การวิเคราะห์อัตรากำไร

แผนภาพข้างล่างนี้แสดงถึงอัตรากำไรของอุตสาหกรรมในอดีต
(ยกเว้นผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษที่เป็นตัวเลขจริงของบริษัท) และ
สัดส่วนผลิตภัณฑ์ของบริษัทแบ่งตามกำลังการผลิต กำลังการผลิต รายได้
และอัตรากำไรของผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีกำลังการผลิตเป็นร้อยละ 14
ของกำลังการผลิตทั้งหมด ส่วนของธุรกิจฝั่งตะวันตกได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 48
ของกำลังการผลิตพร้อมกับมีอัตรากำไรที่สม่ำเสมอและมากเป็นพิเศษ
บริษัทมีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มของผลิตภัณฑ์เพื่อลดความผันผวน
ซึ่งเกิดจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ในทวีปเอเชียโดยเฉพาะ
รวมทั้งมุ่งเน้นการดำเนินงานที่เป็นเลิศเพื่อให้มีผลการดำเนินงานมากกว่าค่าเฉลี่ยอย่างยั่งยืน

























ที่มา : ข้อมูลอุตสาหกรรม และบทวิเคราะห์ของ IVL, % ของIVL คิดจากกำลังการผลิตรวม * ร้อยละ 2
ของเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ในทวีปอเมริกาเหนือเป็นผลิตภัณฑ์ทั่วไป ซึ่งไม่ได้ถูกรวมไว้ในที่นี้


ผลกระทบต่อกลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ + การกระจายรายได้ที่มีอยู่ทั่วโลก + การดำเนินงานที่เป็นเลิศ

(ล้านเหรียญสหรัฐ) ผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ
ผลิตภัณฑ์ในฝั่งตะวันตก
ผลิตภัณฑ์ในทวีปเอเชีย
IVL
ปี 2555
รายได้ 1,306 4,062 2,580 6,780
EBITDA (ปรับปรุง)** 101 300 52 453
% สัดส่วน EBITDA 22% 66% 12%
มูลค่าเพิ่ม (%)* 27% 20% 13% 22%
ปี 2554
รายได้ 585 3,809 2,801 6,102
EBITDA (ปรับปรุง)** 53 295 213 561
% สัดส่วน EBITDA 9% 53% 38%
มูลค่าเพิ่ม (%)* 20% 18% 18% 22%
ปี 2553
รายได้ 166 1,826 1,833 3,055
EBITDA (ปรับปรุง) 14 167 254 435
% สัดส่วน EBITDA 3% 39% 58%
มูลค่าเพิ่ม (%)* 21% 21% 26% 30%
*มูลค่าเพิ่ม (%) = Delivered Delta/รายได้จากการขาย
** EBITDA (ปรับปรุง) ไม่รวมค่าใช่จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินปกติ ที่เกิดขึ้นระหว่างน้ำท่วมในลพบุรี


ตัวชี้วัดสีเขียว เหลือง และแดง แสดงถึงสถานะของแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้างต้น สาระสำคัญจากตารางมีดังนี้

? ธุรกิจของกลุ่มบริษัทก่อให้เกิดสัดส่วนมูลค่าเพิ่มเท่าเดิมในปี 2555 และ ปี 2554
แม้ว่าอัตรากำไรของทวีปเอเชียจะลดลงอย่างมากในปี 2555
เนื่องมาจากบริษัทได้เพิ่มกลุ่มธุรกิจที่ก่อให้เกิดสัดส่วนมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
มาชดเชยการลดลงของสัดส่วนมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ทั่วไปในทวีปเอเชีย อย่างไรก็ตาม EBITDA
ยังคงลดลงเนื่องมาจากอัตรากำลังการผลิตที่ลดลง การเพิ่มขึ้นของค่าแรงงาน และค่าพลังงานในทวีปเอเชีย
รวมทั้งค่าเงินในทวีปเอเชียที่แข็งค่ามากขึ้นส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น
ซึ่งต้นทุนดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังนั้นการปรับปรุงการดำเนินงานในปี 2555 และปี
2556 ทั้งที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการจะเป็นตัวช่วยลดต้นทุนดังกล่าว
? ธุรกิจของกลุ่มบริษัทในฝั่งตะวันตกมีการเติบโตอย่างเป็นสาระสำคัญในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
แม้ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ EBITDAที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้เป็นผลมาจากชื่อของ IVL
และสินค้าของบริษัทที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ผลการดำเนินการของธุรกิจกลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่
โดยจะเห็นได้จากสัดส่วนมูลค่าเพิ่มตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
? ผลประกอบการของกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั่วไปในทวีปเอเชียตกต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ ผลประกอบการในระดับสูงสุดในปี
2553 และครึ่งปีแรกของปี 2554 เกิดจากการขาดแคลนฝ้ายคอตตอน โดยมีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มร้อยละ 26 ในปี 2553
และลดลงเท่ากับร้อยละ 13 ในปี 2555 ภูมิภาคเอเชียได้รับความกดดันด้านต้นทุน
ประกอบกับการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน
กลุ่มบริษัทจึงดำเนินการลดความเสี่ยงดังกล่าวด้วยโครงการบริหารจัดการลดต้นทุนที่จะดำเนินการพัฒนาต่อไปใน
ปี 2556 นอกจากนี้การขยายกำลังการผลิต PET ในประเทศจีน ทำให้เป็นโรงงานที่มีต้นทุนต่ำที่สุดในบริษัท
และเป็นฐานการผลิต PET ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โรงงานผลิตโพลีเอสเตอร์ในประเทศอินโดนีเซีย
ซึ่งมีกำลังการผลิตกว่า 300 กิโลตันต่อปีนั้นจะมีต้นทุนที่ต่ำที่สุด
จะรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย และทดแทนสินค้านำเข้าจากประเทศไทย
สินทรัพย์ที่มีอยู่ในประเทศไทยได้รับการปรับปรุงเพื่อให้นำมาใช้ในการผลิตสินค้าชนิดพิเศษที่สามารถรองรับ
ต้นทุนที่สูงได้ ทั้งนี้สภาวะตลาดที่ตกต่ำของ PTA
ในทวีปเอเชียจะต้องใช้ระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งในการฟื้นตัว
ในขณะที่บริษัทให้ความสำคัญกับการเพิ่มยอดขายภายในกลุ่มบริษัท
และปรับปรุงโครงสร้างของต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถแข่งขันกับโรงงานที่ก่อตั้งใหม่ได้










Topline Growth

แผนภาพข้างล่างนี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตและยอดขายในสกุลเหรียญสหรัฐเปรียบเทียบรายปีแยกตามภ
มิศาสตร์และกลุ่มผลิตภัณฑ์
บริษัทยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาคและทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ในแต่ละปี
ธุรกิจของบริษัทฯที่มีการกระจายอยู่ทั่วโลก มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
และการเข้าถึงตลาดที่มีการแข่งขันสูง
ทำให้บริษัทฯมุ่งเน้นไปที่การให้มูลค่าเพิ่มแก่ผู้มีส่วนได้เสียและได้รับความยั่งยืนของธุรกิจกลับมา
กำลังการผลิตในห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มขึ้นทำให้บริษัทสามารถรักษาผลดำเนินงานให้อยู่ในระดับสูงกว่ามาตรฐาน
การเข้าถึงตลาดทั่วโลกและความหลากหลายของผลิตภัณท์ทำให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในทุกๆปี



Bottomline

กราฟข้างล่างนี้แสดงรายละเอียดของ EBITDA ในช่วงหลายไตรมาสที่ผ่านมา
บริษัทยังคงพัฒนาโครงสร้างธุรกิจและการกระจายธุรกิจที่มีอยู่ทั่วโลกอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะรักษาผลการด
เนินงานที่ยั่งยืนให้อยู่ในระดับสูงในระยะยาว

อัตรากำไรหลักของ PTA PET และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ในทวีปเอเชียลดต่ำลงในแต่ละไตรมาสของปี 2555
มีสาเหตุหลักมาจากกำลังการผลิตส่วนเกินในภูมิภาค
ถึงแม้ว่าความต้องการที่เพิ่มขึ้นจะสอดคล้องกับแนวโน้มในอดีต
กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศจีนประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรอย่า
งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ผู้ผลิตรายใหม่ได้ไล่ล่าหายอดขายจากลูกค้าซึ่งลดปริมาณสินค้าคงคลังลงและจะสั่งซื้อในปริมาณที่ต้องการใช้
เท่านั้น เนื่องจากคาดการณ์ว่าราคาสินค้าจะต่ำลง
มีผลทำให้อัตรากำไรของอุตสาหกรรมได้ลดต่ำลงอย่างมากจนต่ำกว่าต้นทุนเงินสดในช่วงครึ่งหลังของปี 2555

บริษัทฯให้ความเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554
รวมทั้งปรับปรุงต้นทุนและจัดการสินค้าคงเหลือโดยรวม
เพื่อที่จะเพิ่มเงินสดและหลีกเลี่ยงขาดทุนจากการตีราคาตลาดส่งผลให้ระดับอัตรากำลังการผลิตที่ลดลงชั่วครา
ว บริษัทมีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในปี 2555 ซึ่งรวมการเข้าซื้อธุรกิจ EO/EG และสินค้าอนามัย
(Hygiene) เป็นผลให้ EBITDA มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาสและเพิ่มขึ้นร้อยละ 166 ในไตรมาสที่
4 ของปี 2555 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ในระดับภูมิภาค ทวีปอเมริกาเหนือยังคงเป็นผู้นำในด้านผลการดำเนินงาน
ในขณะที่ทวีปยุโรปมีผลการดำเนินงานที่ต่ำลงเล็กน้อยจากสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบครอบคลุมไปทั่
วทวีปยุโรปตอนใต้ อย่างไรก็ดี การปรับปรุงการดำเนินงานใน Spartanburg การขยายกำลังการผลิตที่ Rotterdam
การซื้อกิจการ global hygiene รวมทั้งการเพิ่มธุรกิจ Oxide และ Glycols ในทวีปอเมริกาเหนือนั้น
จะช่วยเพิ่มศักยภาพ ชดเชยกับอัตรากำไรห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์ในทวีปเอเชียที่ลดต่ำลง
























Outlook / Targets for management / Guidance for 2013

ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ PET เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ
บริษัทมีห่วงโซ่อุปทานและโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่ง และยังเป็นผู้นำสายผลิตภัณฑ์นี้ในระดับโลก

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในกลุ่มสินค้า
ด้วยความมีประสิทธิภาพสูงและมีศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
ซึ่งจะช่วยเพิ่มอรรถประโยชน์ให้กับผลิตภัณฑ์ ในส่วนของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ PET
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ำที่สุด
ในขณะที่โพลีเอสเตอร์เป็นเส้นใยเส้นด้ายที่สามารถจัดหาได้ง่ายในราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับฝ้ายคอตตอน
ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นการเติบโตของห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์อย่างต่อเนื่องในอดีต
ได้แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีความยืดหยุ่นต่อผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ความขาดแคลนใน MEG
และพาราไซลีนจะช่วยควบคุมอุปทานส่วนเกินของ PET และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ นอกจากนี้
อัตรากำไรในภูมิภาคเอเชีย ณ ปัจจุบัน ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนเงินสด
จะทำให้หลายโรงงานไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในระยะยาว
การล้มลงของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์อันเป็นผลมาจากอัตรากำไรซึ่งต่ำกว่าต้นทุนข้างต
นจะทำให้อัตรากำไรฟื้นตัวในระหว่างปี 2556

กลุ่มบริษัทเชื่อว่าจะเกิดการปิดโรงงานเก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพของบริษัททั่วภาคพื้นทวีปยุโรป เอเชีย
และอเมริกาเหนือ
กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากนวัตกรรมใหม่และมีความสามารถในการแข่งขันในทั่วทุกภูมิภาคจะเป็นตัวผลักดันให
เกิดการปิดตัวลงของโรงงานในกลุ่มผลิตภัณฑ์PET เส้นใยและเส้นใยโพลีเอสเตอร์
และฟิล์มดังกล่าวข้างต้นเร็วขึ้น
นอกจากนี้กลุ่มบริษัทยังได้ทำการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสินทรัพย์ในทุกภูมิภาค และมีการทบทวน
ปรับปรุงกลยุทธ์ของบริษัทเพื่อจะนำไปสู่การเติบโตและดำเนินงานไปข้างหน้าอย่างเหมาะสม

ฝ่ายบริหารได้ทบทวนการดำเนินงานของปี 2555 และตั้งเป้าหมายสำหรับปี 2556
ซึ่งปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในปี 2556 มีดังนี้
? เพิ่มอัตราการดำเนินงาน (Operating rate) ทีละน้อยเป็นร้อยละ 90 และเพิ่มอัตราเฉลี่ยเป็นร้อยละ 87
ในปี 2556 จากร้อยละ 84 ในปี 2555
? ดำเนินโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการให้เสร็จสิ้นตรงตามกำหนดการและงบประมาณ
? ประหยัดค่าใช้จ่ายได้จากการปรับปรุงการดำเนินงานประมาณ 35 ล้านเหรียญสหรัฐ
? จัดการกับผลขาดทุนจากบริษัทร่วมทุนและหาแนวทางปรับปรุงอย่างรวดเร็ว
? ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงการดำเนินงานในธุรกิจ EO/EG อย่างเต็มรูปแบบในเดือนมีนาคม/เมษายน
และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากช่วงขาขึ้นของธุรกิจ
แผนการปรับปรุงการดำเนินงาน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนตัว Catalyst
ซึ่งจะทำให้ปริมาณการผลิตลดลงในครึ่งปีแรกของปี 2556
และเมื่อเสร็จสิ้นการปรับปรุงดังกล่าวในช่วงเดือนมีนาคม/เมษายน
ประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ปริมาณการผลิตที่ลดลงในครึ่งปีแรกจะถูกทดแทนด้วยการผลิตในครึ่งปีหลังที่เพิ่มมากขึ้น
? ใช้ประโยชน์อย่างเต็มขั้นจากรูปแบบการดำเนินงานที่อยู่ในระดับชั้นนำของบริษัท ในกิจการ Recylcing
และนวัตกรรมโดยจะปรับปรุงโรงงานรุ่นเก่าไปสู่การผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ
ซึ่งสอคคล้องกับความพยายามในการขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดย มีเป้าหมายชัดเจน เหมาะสม
ในการโยกย้ายฐานความรู้และความใกล้ชิดกับลูกค้าไปยังตลาดเกิดใหม่ของบริษัท
? ควบคุมและปรับปรุงการจัดการเงินทุนหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งก่อให้เกิดกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น

แนวทาง 2013 2013 % เทียบกับ 2012
ปริมาณผลิต (ล้านตัน) ~6.0 +15%
รายได้ (พันล้านเหรียญสหรัฐ) ~8.1 +19%
Ebitda (ล้านเหรียญสหรัฐ) ~575* +27%
รายจ่ายฝ่ายทุน (ล้านเหรียญสหรัฐ) ~300 (78%)
*คำนวณจากประมาณการของผู้บริหารโดยรวมแผนกลยุทธ์ของปี 2556
และงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท (ดูรายละเอียดประกอบในข้อสังเกตหน้าถัดไป)

ธุรกิจของบริษัทฯที่มีการกระจายอยู่ทั่วโลก มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
และการควบรวมภายในห่วงโซ่โพลีเอสเตอร์ ทำให้เกิดการป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ
และทำให้บริษัทสามารถรักษาผลดำเนินงานให้อยู่ในระดับสูงอย่างยั่งยืน
ฝ่ายบริหารจะได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและควบรวมกิจการที่บริษัทได้เข้าซื้อ
เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากนวัตกรรมที่บริษัทมี
บริษัทยังคงมองห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ในแง่บวก และเป็นผู้นำในวงจรนี้
บริษัทอยู่ในตำแหน่งที่ดีในการปรับปรุงโครงสร้างต้นทุนและจะได้รับผลประโยชน์อย่างมากเมื่อทั่วโลกเกิดการ
ฟื้นตัว และในขณะเดียวกัน บริษัทเชื่อมั่นว่า บริษัทจะยังคงอยู่ในกลุ่มที่มีต้นทุนต่ำที่สุด





















ข้อสังเกต :
นับจากไตรมาสที่ 2 ปี 2555 เป็นต้นไป บริษัทแบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
กลุ่มธุรกิจเม็ดพลาสติก PET, กลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์
และกลุ่มธุรกิจวัตถุดิบ ในกลุ่มธุรกิจวัตถุดิบ ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจ PTA และ กลุ่มธุรกิจ Oxide และ
Glycols ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักสำหรับการผลิตของอีกสองกลุ่มธุรกิจข้างต้น นอกจากนี้
จะไม่มีการปันส่วนรายได้ของ PTA ให้กับกลุ่มธุรกิจ PET และกลุ่มธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
(ตามสัดส่วนของยอดขาย) ในไตรมาสนี้และไตรมาสเปรียบเทียบ
ข้อมูลทางการเงินรวมภายหลังการตัดรายการระหว่างกันในบริษัทในกลุ่ม (หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ)
ทำให้อาจไม่เท่ากับยอดรวมของแต่ละส่วนธุรกิจ
ตัวเลขทางการเงินปี 2554 ที่ใช้ในการเปรียบเทียบได้ถูกปรับปรุงเพื่อให้มีความครบถ้วน
และเป็นมูลค่ายุติธรรมในปี 2555 สำหรับการเข้าซื้อกิจการในปี 2554
ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปของประเทศไทย
กำไรสุทธิรวมหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยได้รวมรายการพิเศษต่างๆเหล่านี้
ล้านเหรียญสหรัฐ ล้านบาท
ปี 2555 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2554
กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ 27 274 847 8,359
รายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการระหว่างปี (12) (20) (387) (613)
รายได้(ค่าใช้จ่าย)เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม และรายการพิเศษอื่น 46 (50) 1,408 (1,534)
รายการพิเศษหลังหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 61 204 1,868 6,212
บวก รายการพิเศษของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 6 (7) 181 (211)
รายการพิเศษ 67 197 2,049 6,001

กำไรหลักก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) ได้หักรายการกำไร
ขาดทุนจากสินค้าคงเหลือออกจากกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่ายที่รายงานไว้ (Reported EBITDA) รายการกำไร
ขาดทุนจากสินค้าคงเหลือเกิดจากราคาของวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือที่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นงวดที่แล้วจนถึงสิ้น
งวดปัจจุบัน กำไรในสินค้าคงเหลือจะทำให้ต้นทุนขายลดลง
และขาดทุนจากสินค้าคงเหลือจะทำให้ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น
หนี้สินจากการดำเนินงานสุทธิ เท่ากับ หนี้สินสุทธิ
(หนี้สินรวมหักด้วยเงินสดและเงินสดภายใต้การดำเนินงาน) หักด้วยจำนวนเงินที่ใช้ไปในโครงการ
ซึ่งอยู่ภายใต้การก่อสร้าง และยังไม่เริ่มสร้างกำไรให้กับบริษัท
การคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ : รายงานฉบับนี้ได้รวมถึงการคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ
ทั้งในปริมาณความต้องการในสินค้าของบริษัทและผลกระทบจากแผนงานดำเนินธุรกิจ
การประมาณการดังกล่าวมาจากข้อมูลข้างต้น การประมาณการภายใน สมมติฐานของฝ่ายบริหาร และแผนงาน
ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคต
ผลประกอบการจริงอาจแตกต่างอย่างมีสาระสำคัญจากการคาดการณ์ในรายงานฉบับนี้
หากสมมติฐานหรือการประมาณการบางอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เกิดขึ้นจริง
ธุรกิจห่วงโซ่มูลค่าของโพลีเอสเตอร์ โดยทั่วไปมีการซื้อขายในรูปดอลล่าร์สหรัฐ
ดังนั้นบริษัทจึงนำเสนอข้อมูลโดยการแปลงค่าเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐ
บริษัทจัดทำรายงานทางการเงินในรูปเงินบาท และข้อมูลที่แนบมาต่อไปนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของรายงานฉบับนี้
ข้อมูลที่แนบมารายงานถึงผลประกอบการที่ตรวจสอบแล้ว ในรูปเงินบาท
และมีการแปลงค่าเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐที่อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยและอัตราปิดขึ้นอยู่กับรายการ
ผู้อ่านพึงยึดผลประกอบการในรูปเงินบาทเป็นหลัก



















ภาคผนวก
















โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
วันที่ประกาศ โครงการ สถานที่ตั้ง
สายการผลิต กำลังการผลิต
(ตันต่อปี) ระยะเวลา
การขยายกำลังการผลิตในโรงงานเดิม
มีนาคม
2554 การลงทุนในโรงงานผลิต Polymerization resin ต่อเนื่องที่อินโดนีเซีย Purwakarta
อินโดนีเซีย เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ 300,000 ครึ่งหลังของ
ปี 2556
โครงการผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ที่สำคัญที่สุดของบริษัทอยู่ระหว่างก่อสร้างในประเทศอินโดนีเซี

(ยังมีต่อ)