คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ที่ IVL008/02/2011
21 กุมภาพันธ์ 2554

เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ของบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด
(มหาชน) และคำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ทางฝ่ายจัดการของบริษัท ขอนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้

1. สำเนางบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553
(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และสำหรับปี
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน แบบฟอร์ม 45-3 สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2553
และสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ



(นายอาลก โลเฮีย)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ




เลขานุการบริษัท
โทรศัพท์: +66 (0) 2661-6661
โทรสาร: +66 (0) 2661-6664



บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553


ฝ่ายบริหารยินดีเป็นอย่างยิ่งในการรายงานผลประกอบการรายไตรมาสและรายปีที่ดีที่สุด
ซึ่งสูงยิ่งขึ้นกว่าผลประกอบการอันยอดเยี่ยมในไตรมาสที่ผ่านๆมา
ผลประกอบการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกในทุกผลิตภัณฑ์ของบริษัท
ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ (Polyester Value Chain)
ส่งผลให้อัตรากำไรรวม (Integrated margin) เพิ่มสูงขึ้น โครงสร้างธุรกิจของบริษัทมีการกระจายไปทั่วโลก
มีขนาดใหญ่ และมีการควบรวมธุรกิจเข้ากับการผลิต PTA
ทำให้บริษัทมีการเพิ่มขึ้นของยอดขายและกำไรอย่างต่อเนื่อง การควบรวมธุรกิจเข้ากับการผลิต PTA
ทำให้บริษัทได้รับอัตรากำไรภายในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ที่ดีขึ้น
อีกทั้งขนาดของบริษัทนั้นทำให้เกิดโครงสร้างต้นทุนที่แข็งแกร่ง
ความขาดแคลนในคอตตอนทั่วโลกและราคาคอตตอนที่สูงขึ้นอย่างมาก
ส่งผลให้เกิดความต้องการในสินค้าทดแทนอย่างเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
อันนำไปสู่ความต้องการที่มากขึ้นใน PTA อันเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตโพลีเอสเตอร์

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL
รายงานกำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับปี 2553 เท่ากับ 333 ล้านเหรียญสหรัฐ
(10,560 ล้านบาท) และสำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เท่ากับ 134 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,008 ล้านบาท) ในปี
2553 เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินยูโรและดอลล่าร์สหรัฐ อัตราแลกเปลี่ยนยูโร
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 อ่อนตัวลงคิดเป็นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับอัตราปิดในปีที่แล้ว
ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนดอลล่าร์สหรัฐต่อบาทอ่อนตัวลงคิดเป็นร้อยละ 10 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาส 4/2553 เทียบกับ ปี2553
เทียบกับ
ไตรมาส 4/2553 ไตรมาส 3/2553 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 3/2553 ไตรมาส 4/2552
ปี 2553
ปี 2552
ปี 2552
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ 30.15 30.42 33.37 -1% -10% 30.15 33.37 -10%
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อยูโร 39.94 41.41 47.79 -4% -16% 39.94 47.79 -16%
รายได้รวม 838 752 628 11% 33% 3,055 2,331 31%
PET 483 460 361 5% 34% 1,832 1,307 40%
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 120 104 97 16% 25% 429 328 31%
PTA 234 188 171 24% 37% 795 696 14%
กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 141 115 81 23% 75% 435
324 34%
PET 70 63 40 10% 75% 237 174 36%
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 27 19 13 39% 110% 70 39 78%
PTA 45 34 27 34% 67% 129 109 18%
กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย 134 93 41 44% 223% 333 141 137%
ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ (ต่อ)
ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาส 4/2553 เทียบกับ ปี2553
เทียบกับ
ไตรมาส 4/2553 ไตรมาส 3/2553 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 3/2553 ไตรมาส 4/2552
ปี 2553
ปี 2552
ปี 2552
รายจ่ายฝ่ายทุน (CAPEX) 120 31 60 286% 100% 206 115 79%
หนี้สินสุทธิ 1,001 948 1,125 6% -11% 1,001 1,125 -11%
อัตราหนี้สินในการดำเนินงานสุทธิต่อ EBITDA 1.8 2.1 3.2 -14% -45% 2.3 3.2 -28%
อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 12.0 11.3 7.6 6% 58% 10.7 7.0 53%
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) 54% 46% 33% 18% 64% 43% 32% 33%
อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท (%) 22% 19% 13% 15% 65% 17% 14% 22%

กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และสำหรับปี 2553
ได้รวมส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในกิจการที่ลงทุนร่วมกัน อันได้แก่ UAB Ottana Polimeri Europe จำนวน 38
ล้านเหรียญสหรัฐ (1,152 ล้านบาท) และ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,888 ล้านบาท) ตามลำดับ UAB Ottana Polimeri
Europe ประกอบธุรกิจโรงงาน PTA และ PET ในเมืองออตตาน่า ประเทศอิตาลี ส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวประกอบไปด้วย
"กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบ" จากการเข้าซื้อกิจการในเดือนกรกฎาคม 2553

ผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ปี 2553

PET - รายได้จากการขายเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2552
จากทั้งปริมาณขายและราคาขายที่เพิ่มขึ้น
ปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นโดยหลักมาจากการเริ่มดำเนินงานของโรงงานอัลฟ่าเพ็ทในสหรัฐอเมริกา
ทั้งสองสายการผลิต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553
ราคาขายที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ที่ปรับตัวสูงขึ้น
Operating EBITDA เพิ่มขึ้นจากอัตรากำไรที่สูงขึ้นและปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากไตรมาสที่ 4
ของปี 2552 นอกจากนี้ อัตรากำไรยังเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.4 ในไตรมาสนี้ จากร้อยละ 13.7 ในไตรมาสที่ 3
ของปี 2553 และร้อยละ 11.0 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 Operating EBITDA
ของกลุ่มธุรกิจเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐ เติบโตคิดเป็นร้อยละ 75 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ - Operating EBITDA
เมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 110 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 และเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 39
จากไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 อันเนื่องมาจากอัตรากำไรที่สูงขึ้น
คอตตอนซึงในปัจจุบันมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับโพลีเอสเตอร์
ส่งผลให้เกิดความต้องการสินค้าทดแทนอย่างโพลีเอสเตอร์
และยังทำให้ผู้ผลิตโพลีเอสเตอร์สามารถเพิ่มราคาขายและกำไรได้อีกด้วย ในปี 2553
ความต้องการในเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์มีอัตราสูง
ประกอบกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนสำหรับทดแทนคอตตอน
ทำให้ปริมาณความต้องการโดยรวมสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้อัตรากำไรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
22.4 ในไตรมาสนี้ จากร้อยละ 18.7 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 และร้อยละ 13.3 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552
รายได้จากการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 จากราคาขายที่เพิ่มขึ้น

PTA - Operating EBITDA เมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 67 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2552
และเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 34 จากไตรมาสที่ 3 ของปี 2553
จากทั้งปริมาณขายและอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณความต้องการโพลีเอสเตอร์ที่สูงขึ้นและกำลังการผลิต
PTA ที่มีอยู่อย่างจำกัด อัตรากำไรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.3 ในไตรมาสนี้ จากร้อยละ 18.0 ในไตรมาสที่ 3
ของปี 2553 และร้อยละ 15.9 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 โรงงาน PTA
ของบริษัทมีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ร้อยละ 102 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เปรียบเทียบกับร้อยละ 97
ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ส่งผลให้ปริมาณขายเติบโตขึ้นร้อยละ 5

ผลประกอบการประจำปี 2553

PET - รายได้จากการขายเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากปี 2552
จากทั้งปริมาณขายและราคาขายที่เพิ่มขึ้น
ปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นโดยหลักมาจากการเริ่มดำเนินงานของโรงงานอัลฟ่าเพ็ท ในสหรัฐอเมริกา
ทั้งสองสายการผลิต ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 และปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก
ราคาขายที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ที่ปรับตัวสูงขึ้น Operating
EBITDA ของกลุ่มธุรกิจเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐ เติบโตคิดเป็นร้อยละ 36 จากปีที่ผ่านมา แม้ในปี 2553
ราคาขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 อัตรากำไรยังค่อนข้างคงที่ที่ร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 13.3 ในปี 2552

เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ - Operating EBITDA
เมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 78 จากปี 2552
อันเนื่องมาจากอัตรากำไรที่สูงขึ้นจากการปรับเปลี่ยนการผลิตให้เน้นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า
ต้นทุนแปลงสภาพที่ลดลง
และปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากราคาคอตตอนที่สูงขึ้นมากอันส่งผลให้เกิดความต้องการสินค้าทดแทนอย่าง
โพลีเอสเตอร์ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้อัตรากำไรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16.3 ในปี 2553 จากร้อยละ 11.9 ในปี
2552 รายได้จากการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 จากปี 2552 จากราคาขายที่เพิ่มขึ้น

PTA - Operating EBITDA เมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากปี 2552
จากทั้งปริมาณขายและอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณความต้องการโพลีเอสเตอร์ที่สูงขึ้นจากราคาคอตตอนและกำ
ลังการผลิต PTA ที่มีอยู่อย่างจำกัด แม้ในปี 2553 ราคาขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 11
อัตรากำไรยังเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16.2 ในปี 2553 จากร้อยละ 15.7 ในปี 2552 โรงงาน PTA
ของบริษัทมีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ร้อยละ 100 เท่ากับปีที่ผ่านมา แม้ 2 ใน 4 ของโรงงาน PTA
ของบริษัท (รวมโรงงานในออตตาน่า ประเทศอิตาลี)ได้มีการปิดซ่อมบำรุงในระหว่างปี 2553

กระแสเงินสด
บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานจำนวน 328 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2553 เปรียบเทียบกับ 269
ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว ในปี 2553 นี้ บริษัทมีกระแสเงินสดจ่ายสำหรับเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 66
ล้านเหรียญสหรัฐ จากการเพิ่มขึ้นของทั้งปริมาณและราคาสินค้า กระแสเงินสดอิสระก่อนรายจ่ายฝ่ายทุนมีจำนวน
280 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2553 เมื่อเทียบกับ 216 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว
รายจ่ายฝ่ายทุนมีจำนวนเท่ากับ 206 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยหลักมาจากการเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในบริษัท ทีพีที
ปิโตรเคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) โครงการกรีนฟิลด์ของโรงงานอัลฟ่าเพ็ทในสหรัฐอเมริกาที่เสร็จสิ้นแล้ว
การเข้าซื้อโรงงานสาธารณูปโภคในเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และการร่วมลงทุนเข้าซื้อโรงงานผลิต
PTA และ PET ในเมืองออตตาน่า ประเทศอิตาลี ในระหว่างปี 2553 บริษัทได้มีการจ่ายเงินปันผลจำนวน 47
ล้านเหรียญสหรัฐ กระแสเงินสดส่วนที่เหลือถูกนำไปใช้ในการจ่ายชำระหนี้

กำไรสุทธิหลังหักภาษีและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
กำไรสุทธิหลังหักภาษีและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในปี 2553 มีจำนวน 333 ล้านเหรียญสหรัฐ
เติบโตจากปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมากคิดเป็นร้อยละ 137 จำนวนดังกล่าวได้รวมรายการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรม
หรือค่าความนิยมติดลบจำนวน 17 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่เกิดจากการเข้าซื้อโรงงานสาธารณูปโภคในเนเธอร์แลนด์
และส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนจำนวน 60 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งโดยหลักประกอบไปด้วยค่าความนิยมติดลบจากการเข้าซื้อโรงงานผลิต PTA และ PET ในเมืองออตตาน่า
ประเทศอิตาลีในเดือนกรกฎาคม ปี 2553 สำหรับอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นสำหรับปี 2553 เท่ากับร้อยละ 43
เปรียบเทียบกับร้อยละ 32 ในปี 2552

ฐานะทางการเงินและอัตราส่วนทางการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 หนี้สินสุทธิของบริษัทมีจำนวน 1,001 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงคิดเป็นอัตราร้อยละ
11 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัทลดลงเป็นร้อยละ 48
จากร้อยละ 63 ในปี 2552 อัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนของบริษัทสำหรับปี 2553 เท่ากับร้อยละ 17
(ซึ่งไม่รวมกำไรพิเศษ) เปรียบเทียบกับร้อยละ 14 ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553
บริษัทมีวงเงินสินเชื่อที่ยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 654 ล้านเหรียญสหรัฐ
อันสนับสนุนสภาพคล่องที่ดีของกลุ่มบริษัท

เงินปันผลประจำปี
บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิหลังหักทุนสำรองตามกฎหมาย
ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทได้เสนอต่อผู้ถือหุ้นในการอนุมัติเงินปันผลที่ 0.66 บาทต่อหุ้น
คิดเป็นจำนวน 3,178.5 ล้านบาท
(คำนวณจากหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วที่เพิ่มขึ้นหลังการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน จำนวนทั้งหมด 4,815.8
ล้านหุ้น) เงินปันผลเสนอจ่ายดังกล่าวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 122 จากเงินปันผลประจำปี 2552 จำนวน 1,430.3
ล้านบาท

การเพิ่มทุนโดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิม (Rights issue)
ในเดือนพฤศจิกายน 2553
ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทได้มีมติอนุมัติให้ออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิท
ธิได้ (TSR หรือ "ใบแสดงสิทธิ") ในชื่อ IVL-T1 จำนวน 481,582,397 หน่วย
โดยไม่คิดมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Issue) ในอัตราส่วน 9 หุ้นเดิม ต่อ 1
หน่วยใบแสดงสิทธิ ใบแสดงสิทธินี้มีอัตราส่วนการใช้สิทธิที่ 1 หน่วยใบแสดงสิทธิ ต่อ 1 หุ้น
ที่ราคาการใช้สิทธิ 36 บาทต่อหุ้น
การออกและเสนอขายใบแสดงสิทธินี้ได้รับการอนุมัติในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นต่อมาในเดือนธันวาคม 2553
ระยะเวลาการใช้สิทธิจะสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554
เงินรับจากการเพิ่มทุนโดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมนี้จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้แก่บริษัทในการเติบโต
การเข้าซื้อกิจการ และการขยายกิจการ ในระหว่างปี 2554-2557
และยังช่วยคงอัตราหนี้สินสุทธิต่อทุนให้ต่ำกว่า 1 เท่า ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ของปี 2554

แนวโน้มธุรกิจในปี 2554

แนวโน้มธุรกิจของห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์เป็นไปในทิศทางบวก
สนับสนุนโดยปริมาณความต้องการและอัตรากำไรรวม (Integrated margin) ที่สูงขึ้นในสินค้าของบริษัท
อันได้แก่ PET PTA และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ ปริมาณความต้องการ PTA
มีความแข็งแกร่งและช่วยส่งเสริมการควบรวมธุรกิจในกลุ่มบริษัท
ราคาคอตตอนที่ปรับตัวสูงขึ้นมากจนเท่ากับราคาสูงสุดในอดีตทำให้เกิดความต้องการในสินค้าทดแทนอย่างเส้นใยแ
ละเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนใน PTA
ซึงเป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ นอกจากนี้
ปริมาณความต้องการได้สูงขึ้นทั่วโลกจากสภาพเศรษฐกิจในอเมริกาเหนือที่ปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากวิกฤตการณ์ใ
นปี 2551 และมีปริมาณความต้องการที่สูงขึ้น
ห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์มีความสามารถในการส่งผ่านราคาที่เพิ่มขึ้นและขยายอัตรากำไรรวม
จากแผนภาพข้างล่างนี้ กำไรขั้นต้น หรือ Integrated spreads ของ PTA และ PET ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553
สูงกว่ากำไรขั้นต้นเฉลี่ยใน 8 ไตรมาสที่ผ่านมา และยังคงความแข็งแกร่งต่อบริษัท

เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 51 ในปี
2553 ประมาณการ สำหรับเส้นใยทุกชนิด
โพลีเอสเตอร์มีการเติบโตสูงกว่าเส้นใยชนิดอื่นๆอันเนื่องมาจากความมั่นคง
อุปทานที่เพียงพอซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ การใช้งานที่หลากหลายกว่าจากความยืดหยุ่น
ความคงทนและความอุ้มน้ำที่น้อยกว่า และราคาที่ต่ำกว่า
คอตตอนเป็นเส้นใยธรรมชาติซึ่งอุปทานจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
และปริมาณความต้องการในพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นและเชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio-fuel)
จากความจำกัดในพื้นที่เพาะปลูก
ความใกล้ชิดของห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์กับสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันนั้นทำให้ปริมาณค
วามต้องการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะใน PET หรือเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ ในส่วนของ PTA
ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต PET และโพลีเอสเตอร์ เป็นที่คาดว่ากำไรขั้นต้น (Spread)
จะค่อนข้างคงที่ สำหรับเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์จะยังคงเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดจากเส้นใยทุกชนิด
ตามแผนภาพที่แสดงด้านล่างนี้












ปี 2554 เป็นที่คาดการณ์ว่า IVL จะมีการเติบโตเป็นอย่างมากทั้งในแง่ของผลประกอบการและขนาดของบริษัท
โรงงานอัลฟ่าเพ็ทของบริษัทได้เริ่มดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบและเริ่มผลิตเต็มกำลังการผลิตติดตั้งที่
1,200 ตันต่อวันในเดือนพฤศจิกายน 2553
และเป็นที่คาดว่าจะดำเนินงานได้เต็มอัตรากำลังการผลิตภายในครึ่งปีหน้า
ผลประกอบการเต็มปีของโรงงานอัลฟ่าเพ็ทจะแสดงให้เห็นในปี 2554 นอกจากนี้ IVL ยังสามารถบริหารโรงงาน PTA
และ PET ในอิตาลีจากขาดทุนให้เป็นกำไรได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553
ภายในเวลาสั้นๆหลังจากการเข้าร่วมลงทุนในเดือนกรกฎาคม 2553
บริษัทได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิต PET ในประเทศจีนในสิ้นเดือนมกราคม 2554
และภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
บริษัทจะเสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการทั้งหมดที่ได้มีการประกาศไปแล้วอันได้แก่ โรงงานผลิต PET
และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ของอินวิสต้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก โรงงานผลิต PET
และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ของเอสเค ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศโปแลนด์
ในส่วนของการเข้าซื้อกิจการเทรวิร่าที่ได้มีการประกาศเร็วๆนี้
คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในครึ่งปีแรกของปี 2554
โครงการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 2.1 ล้านตัน
จากกำลังการผลิตติดตั้งปัจจุบันของ IVL ที่ 3.6 ล้านตัน
(ไม่รวมกำลังการผลิตของกิจการร่วมทุนในประเทศอิตาลี)
ฝ่ายบริหารยังคงมองหาโอกาสที่จะเติบโตในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย ตะวันออกกลาง
และแอฟริกา ตามแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจที่วางไว้จนถึงปี 2557

ความคืบหน้าของโครงการ

ในเดือนพฤษภาคม 2553 บริษัทอนุมัติการเพิ่มสายการผลิตเม็ดพลาสติก PET ภายในบริเวณโรงงาน Indorama
Polymers Rotterdam BV ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติก PET อีก 190,000 ตัน
ทำให้กำลังการผลิตทั้งหมดของโรงงานเป็น 390,000 ตัน
การขยายโรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการผลิตได้ภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555
การขยายโรงงานครั้งนี้ทำให้เกิดการว่าจ้างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้
ยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทในยุโรป และเพิ่มการบริโภค PTA ภายในกลุ่ม จนเต็มจำนวนการผลิต
350,000 ตัน และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากบริษัทในกลุ่มที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน
อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการประหยัดต่อขนาดด้วย การขยายโรงงานนี้คาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท

ในเดือนสิงหาคม 2553 บริษัทอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานผลิต PET ใหม่โดยบริษัทย่อย อินโดรามา โพลีเมอร์ส
จำกัด (มหาชน) หรือ IRP ซึ่ง IRP จะ ทำการจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนในโรงงานผลิต PET แบบ Solid state
polymerization "SSP" ที่มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี ที่ Port Harcourt ประเทศไนจีเรีย
การลงทุนครั้งนี้ ถือเป็นการลงทุนครั้งแรกของบริษัทในแอฟริกา ที่ซึ่งตลาดมีความต้องการถึง 450,000
ตันต่อปี ในปัจจุบันมีเพียงผู้ผลิต PET รายเดียวเท่านั้นในแอฟริกา
โรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554
และคาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท

ในเดือนสิงหาคม 2553 บริษัทอนุมัติให้จัดตั้งโครงการ PET รีไซเคิล (Flake to Resins) ที่กำลังการผลิต
36,000 ตันต่อปี ที่โรงงานอัลฟ่าเพ็ท ประเทศสหรัฐอเมริกา
โครงการนี้สอดคล้องกับความต้องการของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค
กระบวนการและเทคโนโลยีนี้ได้รับการอนุมัติแล้ว และชิ้นส่วนหรือเกล็ด PET (PET flake)
จะถูกป้อนจากภายในพื้นที่โรงงานเดียวกัน โครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 4
ของปี 2554 และคาดว่าจะเพิ่มกำไรแก่บริษัท นอกจากนี้
โครงการดังกล่าวยังได้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท
ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนการรีไซเคิล

ในเดือนสิงหาคม 2553 บริษัทอนุมัติให้จัดตั้งโครงการไฟฟ้าพลังงานจากแสงอาทิตย์ขนาด 2 เมกกะวัตต์
ที่จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะส่งผ่านไปยัง PEA grid และเครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (VSPP)
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อการลงทุนในพลังงานทดแทน
ประเทศไทยมีแสงอาทิตย์มากที่จะนำไปผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์อันเป็นแหล่งพลังงานทดแทน
โครงการนี้จะตั้งอยู่ภายในพื้นที่โรงงานของบริษัทซึ่งเป็นพื้นที่ว่างในเขตพื้นที่สีเขียว (Green Zone)
นอกจากนี้ โครงการยังได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ในการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีนำเข้า
รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ บริษัทคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
โครงการดังกล่าวยังได้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ในการรักษาสิ่งแวดล้อม
การลดระดับก๊าซคาร์บอน และการพัฒนาชุมชน

ในเดือนพฤศจิกายน 2553 บริษัทอนุมัติการซื้อกิจการโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก PET และเส้นใยและเส้นด้าย
โพลีเอสเตอร์ โดยมีกำลังผลิตประมาณ 406,000 ตันต่อปี จาก Guangdong Shinda UHMWPE Co., Ltd.
โรงงานตั้งอยู่ที่เมืองไคปิง มณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน ครั้งนี้เป็นการลงทุนครั้งแรกของ IVL ในประเทศจีน
และถือเป็นก้าวแรกในการดำเนินธุรกิจในประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วด้านการผลิต PET IVL
ได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อธุรกิจเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554
โครงการดังกล่าวคาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท

ในเดือนพฤศจิกายน 2553 บริษัทอนุมัติการเข้าซื้อโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก PET
และเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ Spartanburg รัฐ South Carolina สหรัฐอเมริกา
และซื้อกิจการในลาตินอเมริกัน ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก PET และเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์
(Grupo Arteva S . de RL de CV และบริษัทในเครือ) ใน Queretaro ประเทศเม็กซิโก จาก Invista S.? r.l.,
โรงงานทั้งสองทำการผลิตสินค้าหลากหลาย ทั้ง PET โพลิเมอร์แบบพิเศษ เส้นใย และฟิล์มในรูปแบบพร้อมใช้
ประกอบด้วยกำลังการผลิต 470,000 ตันต่อปีที่โรงงานใน Spartanburg และ 535,000 ตันต่อปีใน Queretaro
การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
และคาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท ทำให้ IVL กลายเป็นผู้ผลิต PET รายใหญ่ที่สุดในโลก
ในขณะเดียวกันก็สามารถดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ในการขยายตัวเข้าไปในตลาดใหม่ในอเมริกากลางและลาตินอเมริกา
นวัตกรรมทางการวิจัยและเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งของโรงงานดังกล่าว จะส่งเสริมให้ IVL
สามารถผลิตสินค้าใหม่ๆเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้

ในเดือนธันวาคม 2553 บริษัทลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นจำนวน 2 ฉบับ โดยฉบับแรกลงนามกับ SK Chemicals
ประเทศเกาหลี และ/หรือบริษัทในเครือ เพื่อเข้าซื้อกิจการผลิตเม็ดพลาสติก SK Eurochem Sp. Z o. o.
ในประเทศโปแลนด์ และฉบับที่สอง ลงนามกับ SK Syntec (ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ SK Chemicals)
เพื่อเข้าซื้อกิจการผลิตเม็ดพลาสติกและโพลีเอสเตอร์ PT SK KERIS และ PT SK Fiber ในประเทศอินโดนีเซีย SK
Eurochem Sp. z o. o. ประเทศโปแลนด์ เป็นโรงงานผลิต PET chips โดยมีกำลังการผลิต 140,000 ตันต่อปี PT
SK Keris ประเทศอินโดนีเซีย เป็นโรงงานผลิต PET chips และเส้นใย เส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
โดยมีกำลังการผลิตรวม 160,000 ตันต่อปี PT SK Fiber ประเทศอินโดนีเซีย เป็นโรงงานผลิตเส้นใย
เส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ โดยมีกำลังการผลิต 36,000 ตันต่อปี
การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554
และคาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 บริษัทอนุมัติการเข้าซื้อกิจการเส้นใย เส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
และเส้นด้ายแบบพิเศษของ Trevira GmbH ซึ่งดำเนินกิจการในประเทศเยอรมนีและประเทศโปแลนด์ ในอัตราร้อยละ 75
ที่เหลืออีกร้อยละ 25 จะถือโดย Sinterama S.p.A. ประเทศอิตาลี ("ผู้ร่วมทุน")
การเข้าซื้อหุ้นในอัตราร้อยละ 100 ของ Trevira GmbH จะเข้าซื้อโดยผ่านบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่
ซึ่งการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่และการซื้อกิจการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในไตรมาสที่สองของป
2554 Trevira GmbH เป็นบริษัทที่ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ครบวงจรในยุโรป ด้วยกำลังการผลิต 120,000
ตันต่อปี ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนีและประเทศโปแลนด์ Trevira GmbH
เป็นผู้นำในตลาดยุโรปในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในธุรกิจยานยนต์และสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน Trevira
มีตราสินค้าที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและเป็นที่ยอมรับทั้งในกลุ่มลูกค้าและผู้ผลิตเส้นใยสังเคราะห์
บริษัทมีสิทธิบัตรที่มีมูลค่าและเทคโนโลยี รวมทั้งมีการวิจัยและพัฒนาอย่างเข้มแข็งฐานความรู้ของ Trevira
ที่ได้พัฒนาขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมาจะเอื้อประโยชน์ต่อ IVL
ประโยชน์จากการควบรวมธุรกิจนี้จะช่วยเสริมสร้างนวัตกรรมใหม่
สำหรับเครื่องแต่งกายและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมของโพลีเอสเตอร์กับลูกค้าทั่วโลก

ภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าซื้อและการขยายกิจการที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้
บริษัทจะมีข้อได้เปรียบในการบริหารกิจการ และกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 2.1 ล้านตัน
บริษัทจะกลายเป็นผู้นำตลาดทั้งในประเทศไทย อเมริกาเหนือ และยุโรป กำลังการผลิตแบ่งตามภูมิภาคของ IVL
แสดงดังต่อไปนี้

กำลังการผลิตแบ่งตามภูมิภาค - ผู้นำตลาดทั้งในประเทศไทย อเมริกาเหนือ และยุโรป


ข้อสังเกต : ธุรกิจห่วงโซ่มูลค่าของโพลีเอสเตอร์ โดยทั่วไปมีการซื้อขายในรูปดอลล่าร์สหรัฐ
ดังนั้นบริษัทจึงนำเสนอข้อมูลโดยการแปลงค่าเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐ
บริษัทจัดทำรายงานทางการเงินในรูปเงินบาท และข้อมูลที่แนบมาต่อไปนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของรายงานฉบับนี้
ข้อมูลที่แนบมารายงานถึงผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ในรูปเงินบาท
และมีการแปลงค่าเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐที่อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยและอัตราปิดขึ้นอยู่กับรายการ
ผู้อ่านพึงยึดผลประกอบการในรูปเงินบาทเป็นหลัก

การคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ : รายงานฉบับนี้ได้รวมถึงการคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ
ทั้งในปริมาณความต้องการในสินค้าของบริษัทและผลกระทบจากอัตราการเติบโตในงวดที่ผ่านมา
การประมาณการดังกล่าวมาจากข้อมูลข้างต้น การประมาณการภายใน สมมติฐานของฝ่ายบริหาร และแผนงาน
ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคต
(ยังมีต่อ)