คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ


ที่ IVL010/05/2011
18 พฤษภาคม 2554

เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินสอบทานสำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ของบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด
(มหาชน) และคำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ทางฝ่ายจัดการของบริษัท ขอนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้

1. สำเนางบการเงินสอบทานรวมและงบการเงินสอบทานเฉพาะบริษัท สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน แบบฟอร์ม 45-3 สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ



(นายอาลก โลเฮีย)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ




เลขานุการบริษัท
โทรศัพท์: +66 (0) 2661-6661
โทรสาร: +66 (0) 2661-6664



บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานรวม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2554


บริษัทยินดีเป็นอย่างยิ่งในการรายงานผลประกอบการรายไตรมาสที่ดียิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมา
ห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ (Polyester Value Chain) มีความต้องการในผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ราคาขาย
และอัตรากำไร (margin) ที่สูงขึ้นในไตรมาสนี้ ในขณะที่ความต้องการยังคงเพิ่มขึ้นทั่วโลก
ห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ (Polyester Value Chain) ยังได้รับผลดีอย่างต่อเนื่องภายในไตรมาส
เนื่องจากความขาดแคลนในคอตตอนทั่วโลกและราคาคอตตอนที่สูงขึ้นมาก
ซึ่งส่งผลให้เกิดความต้องการในสินค้าทดแทนอย่างเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และ PTA
อันเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตโพลีเอสเตอร์ ในไตรมาสนี้
บริษัทได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิต PET และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ ในประเทศจีน
อินโดนีเซีย เม็กซิโก โปแลนด์ และ สหรัฐอเมริกา และเสร็จสิ้นการเพิ่มทุนโดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิม
(rights issue) ซึ่งมีการใช้สิทธิเต็มจำนวน กำลังการผลิตโดยรวม ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 เพิ่มขึ้นเป็น 5.40
ล้านตันต่อปี ด้วยกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นอีก 1.75 ล้านตันต่อปี จากการเข้าซื้อโรงงาน โดย 1.40
ล้านตันต่อปี เป็นกำลังการผลิต PET และ 0.35 ล้านตันต่อปี
เป็นกำลังการผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
บริษัทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องตามแผนดำเนินงานที่ขยายไปทั่วโลกและมีการควบรวมของธุรกิจ

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL รายงานกำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้
ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2554 เท่ากับ 215 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,554
ล้านบาท) และกำไรสุทธิรวมหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เท่ากับ 362 ล้านเหรียญสหรัฐ
(11,057 ล้านบาท) ฐานะทางการเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
แม้จะมีการลงทุนเข้าซื้อกิจการเป็นจำนวนมาก อัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัทลดลงจากร้อยละ 48
เป็นร้อยละ 35 และมีสภาพคล่องสูงถึง 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
และวงเงินสินเชื่อที่ยังมิได้เบิกใช้













ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาส 1/2554 เทียบกับ 12 เดือนสิ้นสุด 12 เดือนสิ้นสุด
ไตรมาส 1/2554 ไตรมาส 4/2553 ไตรมาส 1/2553 ไตรมาส 4/2553 ไตรมาส 1/2553 ไตรมาส
1/2554 ไตรมาส
1/2553
เปรียบเทียบ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ 30.30 30.15 32.37 0% -6% 30.30 32.37 -6%
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อยูโร 42.86 39.94 43.41 7% -1% 42.86 43.41 -1%
รายได้รวม 1,328 838 733 59% 81% 3,643 2,567 42%
PET 869 483 434 80% 100% 2,262 1,456 55%
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 189 120 105 57% 80% 512 381 34%
PTA 269 234 194 15% 39% 869 730 19%
กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 215 141 92
52% 134% 557 335 66%
PET 117 70 51 68% 130% 303 179 69%
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 48 27 13 78% 273% 104 44 135%
PTA 55 45 29 21% 91% 155 113 38%
*กำไรหลัก หลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย 159 95 47 67% 242% 368 149 146%
*กำไรสุทธิ หลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 362 134 47 171% 678% 646 156 315%
รายจ่ายฝ่ายทุน (CAPEX) 713 120 13 494% 5559% 898 94 854%
หนี้สินสุทธิ 1,088 996 955 9% 14% 1,088 955 14%
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 0.5 0.9 1.1 -42% -53% 0.5 1.1 -53%
อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 16.4 12.0 9.3 36% 76% 12.7 7.8 63%
อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท (%) 28% 22% 16% 29% 81% 19% 15% 27%

*กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
ได้รวมกำไรพิเศษสุทธิจำนวน 203 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,199 ล้านบาท) ซึ่งประกอบด้วย
"กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบ" จากการเข้าซื้อกิจการ จำนวน 214 ล้านเหรียญสหรัฐ
(6,523 ล้านบาท) (รายละเอียดแสดงอยู่ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 เรื่อง การเข้าซื้อบริษัทย่อย
ในงบการเงินสอบทานรวม) และรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการระหว่างไตรมาส จำนวน 11
ล้านเหรียญสหรัฐ

กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 จำนวน 134
ล้านเหรียญสหรัฐ (4,008 ล้านบาท) รวมส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในกิจการที่ลงทุนร่วมกัน อันได้แก่ UAB
Ottana Polimeri Europe จำนวน 38 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,152 ล้านบาท) ส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวประกอบไปด้วย
"กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบ" จากการเข้าซื้อกิจการในอิตาลีในเดือนกรกฎาคม 2553

*กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับ 12 เดือนย้อนหลังสิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ของปี
2554 จำนวน 646 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้รวมกำไรพิเศษสุทธิจำนวน 278 ล้านเหรียญสหรัฐ (8,650 ล้านบาท)
ซึ่งประกอบด้วย "กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบ" จากการเข้าซื้อกิจการต่างๆในไตรมาสที่
1 ของปี 2554 จำนวน 214 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,523 ล้านบาท) "กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ
หรือค่าความนิยมติดลบ" จากการเข้าซื้อกิจการสาธารณูปโภคในเมือง Rotterdam ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553
จำนวน 14 ล้านเหรียญสหรัฐ (563 ล้านบาท) ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในกิจการที่ลงทุนร่วมกัน อันได้แก่ UAB
Ottana Polimeri Europe จำนวน 61 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,888 ล้านบาท) ส่วนแบ่งกำไรดังกล่าวประกอบไปด้วย
"กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบ" จากการเข้าซื้อกิจการในอิตาลีในเดือนกรกฎาคม 2553
และรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการระหว่างไตรมาส จำนวน 11 ล้านเหรียญสหรัฐ (324 ล้านบาท)

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 บริษัทได้ใช้มาตรฐานการายงานทางการเงินที่ปรับปรุงใหม่ (TFRS)
ตามที่ประกาศใช้โดยสภาวิชาชีพฯ ในการจัดทำงบการเงิน ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่อง การนำเสนองบการเงิน
การบันทึกบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และ ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน
รายการส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 ถูกปรับปรุงจำนวน 284 ล้านบาท เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
รายละเอียดแสดงอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
ในงบการเงินสอบทานรวม

ผลประกอบการของแต่ละกลุ่มธุรกิจ ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2554

PET - รายได้จากการขายเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และ
ร้อยละ 100 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 จากทั้งปริมาณขายและราคาขายที่เพิ่มขึ้น
ปริมาณขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และ ร้อยละ 48 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2553
ปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นโดยหลักมาจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นของโรงงานอัลฟ่าเพ็ท
และปริมาณผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าซื้อกิจการที่เสร็จสิ้นในเดือนมกราคม 2554 ในประเทศจีน
และเสร็จสิ้นในต้นเดือนมีนาคม 2554 ในประเทศอินโดนีเซีย เม็กซิโก โปแลนด์ และ สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้
ราคาขายที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้เป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบในห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ที่ปรับตัวสูงขึ้น
Operating EBITDA ของกลุ่มธุรกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 เท่ากับ 117 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
68 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และร้อยละ 130 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2553

เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ -
รายได้จากการขายเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 57 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553
และเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 80 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2553
อันเนื่องมาจากทั้งปริมาณขายและราคาขายที่เพิ่มขึ้น ปริมาณขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากไตรมาสที่ 4 ของปี
2553 และ ร้อยละ 33 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2553
ปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นโดยหลักมาจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้นของโรงงานในประเทศไทย
และจากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากกิจการที่เข้าซื้อเสร็จสิ้นในต้นเดือนมีนาคม 2554
ในประเทศอินโดนีเซีย และ สหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้รายได้จากการขายยังเพิ่มขึ้นจากราคาขายที่สูงขึ้นในไตรมาสนี้
จากความต้องการสินค้าอย่างเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์เพื่อทดแทนคอตตอนซึ่งในปัจจุบันมีราคาสูงมากเนื่
องจากความขาดแคลน ทำให้ผู้ผลิตโพลีเอสเตอร์สามารถเพิ่มราคาขายและกำไรได้อีกด้วย
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้อัตรากำไรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.4 ในไตรมาสนี้ จากร้อยละ 22.4 ในไตรมาสที่ 4
ของปี 2553 และร้อยละ 12.3 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 Operating EBITDA ของกลุ่มธุรกิจในไตรมาสที่ 1
ของปี 2554 เท่ากับ 48 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และร้อยละ 273
จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2553

PTA - Operating EBITDA ของกลุ่มธุรกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 เท่ากับ 55 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และร้อยละ 91 จากไตรมาสที่ 1 ของปี 2553
จากอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณความต้องการโพลีเอสเตอร์ที่สูงขึ้น
ความต้องการโพลีเอสเตอร์ที่สูงขึ้นนี้ ทำให้บริษัทสามารถเพิ่มอัตรากำไรของ PTA ได้
อัตรากำไรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20.3 ในไตรมาสนี้ จากร้อยละ 19.3 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และร้อยละ 14.7
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 นอกจากนี้การเข้าซื้อกิจการใหม่ในไตรมาสนี้ ทำให้ปริมาณการใช้ PTA
ภายในกลุ่มบริษัทเท่ากับร้อยละ 52 ของรายได้รวมจากการขาย PTA เปรียบเทียบกับร้อยละ 48 ในไตรมาสที่ 4
ของปี 2553 และในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553

ผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2554

กระแสเงินสด
บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานจำนวน 210 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 เปรียบเทียบกับ
82 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553
ราคาของทุกผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นและปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าซื้อธุรกิจ
ทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดจ่ายสำหรับเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 132 ล้านเหรียญสหรัฐ
กระแสเงินสดอิสระก่อนรายจ่ายฝ่ายทุนมีจำนวน 67 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับ 63
ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 รายจ่ายฝ่ายทุนในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 มีจำนวนเท่ากับ 713
ล้านเหรียญสหรัฐ โดยหลักมาจากการเข้าซื้อโรงงานผลิต PET ในประเทศจีน โรงงานผลิต PET
และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ของ Invista ในประเทศสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก โรงงานผลิต PET
และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ของ SK Chemicals ในประเทศอินโดนีเซียและโปแลนด์
รายจ่ายฝ่ายทุนดังกล่าวได้รับการสนับสนุนด้วยเงินกู้ยืม บริษัทได้รับเงินสุทธิ 564 ล้านเหรียญสหรัฐ
จากการออกการหุ้นเพิ่มทุนโดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมในเดือนกุมภาพันธ์ 2554
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 มีจำนวน 785 ล้านเหรียญสหรัฐ
(23,784 ล้านบาท)

กำไรสุทธิหลังหักภาษีและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
กำไรสุทธิหลังหักภาษีและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 มีจำนวน 362 ล้านเหรียญสหรัฐ
ได้รวมรายการกำไรพิเศษสุทธิ จำนวน 203 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วย "กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ
หรือค่าความนิยมติดลบ" จากการเข้าซื้อกิจการ จำนวน 214 ล้านเหรียญสหรัฐ
และรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการระหว่างไตรมาส จำนวน 11 ล้านเหรียญสหรัฐ
กำไรสุทธิหลังหักภาษีและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ไม่รวมรายการพิเศษในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 มีจำนวน
159 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 96 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 (ไม่รวมรายการพิเศษจำนวน
38 ล้านเหรียญสหรัฐ) และจาก 47 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553

ฐานะทางการเงินและอัตราส่วนทางการเงิน
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 หนี้สินสุทธิของบริษัทมีจำนวน 1,088 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เมื่อเทียบกับหนี้สินสุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 แม้ว่าการเข้าซื้อกิจการโรงงานผลิต PET
เส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ และ เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
ซึ่งรวมแล้วทำให้การกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 1.75 ล้านตันต่อปี
อัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัทลดลงเป็นร้อยละ 35 จากร้อยละ 48 ในปี 2553
อัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุนของบริษัทเฉลี่ยต่อปี ซึ่งไม่รวมรายการพิเศษ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
เท่ากับร้อยละ 28 เปรียบเทียบกับร้อยละ 22 ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 และ ร้อยละ 16 ในไตรมาสที่ 1
ของปี 2553 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2554 อัตราส่วนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเป็น 1.7 เท่า จาก 1.1 เท่าในปี 2553 ณ
วันที่ 31 มีนาคม 2554 บริษัทมีวงเงินสินเชื่อที่ยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวนเงินรวม 990 ล้านเหรียญสหรัฐ
อันสนับสนุนสภาพคล่องที่ดีของกลุ่มบริษัท


การเพิ่มทุนโดยให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิม (Rights issue)
ในเดือนพฤศจิกายน 2553
ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทได้มีมติอนุมัติให้ออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิท
ธิได้ (TSR หรือ "ใบแสดงสิทธิ") ในชื่อ IVL-T1 จำนวน 481,585,6727 หน่วย
โดยไม่คิดมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Rights Issue) ในอัตราส่วน 9 หุ้นเดิม ต่อ 1
หน่วยใบแสดงสิทธิ ใบแสดงสิทธินี้มีอัตราส่วนการใช้สิทธิที่ 1 หน่วยใบแสดงสิทธิ ต่อ 1 หุ้น
ที่ราคาการใช้สิทธิ 36 บาทต่อหุ้น
การออกและเสนอขายใบแสดงสิทธินี้ได้รับการอนุมัติในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นต่อมาในเดือนธันวาคม 2553
ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 การออกและเสนอขายใบแสดงสิทธิได้สิ้นสุดลงด้วยอัตราการใช้สิทธิร้อยละ 99.67
ของการใช้สิทธิทั้งหมด หุ้นที่ออกใหม่จำนวน 479,986,198 หุ้น
ได้เริ่มการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554
บริษัทได้รับเงินจากการออกการหุ้นเพิ่มทุนนี้สุทธิจำนวน 564 ล้านเหรียญสหรัฐ

แนวโน้มธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554

ธนาคารกลางหลายแห่งได้มุ่งเน้นไปที่การควบคุมเงินเฟ้อ ซึ่งอาจทำให้อัตราการเติบโตลดลง ในไตรมาสที่ผ่านมา
อัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า
รวมถึงน้ำมันดิบและปิโตรเคมีภัณฑ์ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554
มาตรการในการควบคุมเงินเฟ้อส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบและปิโตรเคมีภัณฑ์มีความผันผวนและมีแนวโน้มที่จะต่ำลง
อัตรากำไรของห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ ทั้งของ PTA และ เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
ที่เพิ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 จะกลับมาสู่ในระดับปกติอย่างที่ปรากฎในปี 2553
เนื่องจากราคาคอตตอนได้ลดลง แนวโน้มราคาได้แสดงในแผนภาพต่อไปนี้

ดัชนีอุตสาหกรรมการเปลี่ยนแปลงราคาของคอตตอน เส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ (PSF) และ PTA

ที่มา : ข้อมูลอุตสาหกรรม


ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 จะเป็นไตรมาสแรกที่ได้เริ่มดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ
ของกิจการที่เข้าซื้อและเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 อันได้แก่ โรงงานผลิต PET ในประเทศจีน
โรงงานผลิต PET และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเม็กซิโก โรงงานผลิต PET
และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศโปแลนด์
ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตให้สูงขึ้น การเข้าซื้อที่เสร็จสิ้นแล้วดังกล่าว
จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 3.65 ล้านตันต่อปี ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เป็น 5.40
ล้านตันต่อปี ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ของปี 2554

โรงงานอัลฟ่าเพ็ท ในเมือง Decatur รัฐAlabama ได้กลับมาเริ่มดำเนินการผลิต
หลังจากที่ปิดโรงงานชั่วคราวจากการที่พายุทอร์นาโดพัดผ่านรัฐAlabama ประเทศสหรัฐอเมริกาและทำให้ไฟฟ้าดับ
ไม่มีเกิดความเสียหายร้ายแรงใดเกิดขึ้น
และบริษัทเชื่อว่ากรมธรรม์ประกันความเสี่ยงทั้งหมดได้ครอบคลุมสินทรัพย์ของบริษัท
และการดำเนินงานที่หยุดชะงักนี้
บริษัทคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบได้ภายในครึ่งหลังของเดือนพฤษภาคม 2554 ส่วนอีก 3
โรงงานในทวีปอเมริกาเหนือ อันได้แก่ โรงงาน Starpet ในรัฐ North Carolina โรงงาน Auriga Polymers ในรัฐ
South Carolina และ Arteva Specialties S. de R.L. de C.V. ใน Queretaro ประเทศ Mexico
สามารถดำเนินการผลิตได้ตามปกติ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554
ปริมาณการผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์จากโรงงาน อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์
ที่จังหวัดระยอง คาดว่าจะลดลง เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงบางส่วนในกระบวนการผลิตที่ทำให้เกิดความเสียหาย
โรงงานดังกล่าวได้เปิดดำเนินการแล้ว แต่ด้วยอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำประมาณร้อยละ 90
และคาดว่าจะกลับมาดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 บริษัทเชื่อว่า โรงงาน
อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ มีการประกันครอบคลุมไว้ทั้งหมด

ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
และคาดว่าจะดีขึ้นเป็นอย่างมากในครึ่งหลังของปี 2554 ภายใต้สมมติฐานสภาพแวดล้อมการดำเนินงานปกติ

ความคืบหน้าของโครงการ

ในเดือนพฤษภาคม 2553 บริษัทอนุมัติการเพิ่มสายการผลิตเม็ดพลาสติก PET ภายในบริเวณโรงงาน Indorama
Polymers Rotterdam BV ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติก PET อีก 190,000 ตัน
ทำให้กำลังการผลิตทั้งหมดของโรงงานเป็น 390,000 ตัน
การขยายโรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการผลิตได้ภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555
การขยายโรงงานครั้งนี้ทำให้เกิดการว่าจ้างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้
ยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทในยุโรป และเพิ่มการบริโภค PTA ภายในกลุ่ม จนเพิ่มกำลังการผลิต
PTA ใน Rotterdam และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากบริษัทในกลุ่มที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน
อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการประหยัดต่อขนาดด้วย การขยายโรงงานนี้คาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท

ในเดือนสิงหาคม 2553 บริษัทอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานผลิต PET ใหม่โดยบริษัทย่อย อินโดรามา โพลีเมอร์ส
จำกัด (มหาชน) หรือ IRP ซึ่ง IRP จะ ทำการจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนในโรงงานผลิต PET แบบ Solid state
polymerization "SSP" ที่มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี ที่ Port Harcourt ประเทศไนจีเรีย
การลงทุนครั้งนี้ ถือเป็นการลงทุนครั้งแรกของบริษัทในแอฟริกา ที่ซึ่งตลาดมีความต้องการถึง 450,000
ตันต่อปี ในปัจจุบันมีเพียงผู้ผลิต PET รายเดียวเท่านั้นในแอฟริกา
โรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554
และคาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท

ในเดือนสิงหาคม 2553 คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้จัดตั้งโครงการ PET รีไซเคิล (Flake to Resins)
ที่กำลังการผลิต 36,000 ตันต่อปี ที่โรงงานอัลฟ่าเพ็ท ประเทศสหรัฐอเมริกา
โครงการนี้สอดคล้องกับความต้องการของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค
กระบวนการและเทคโนโลยีนี้ได้รับการอนุมัติแล้ว และชิ้นส่วนหรือเกล็ด PET (PET flake)
จะถูกป้อนจากภายในพื้นที่โรงงานเดียวกัน โครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 4
ของปี 2554 และคาดว่าจะเพิ่มกำไรแก่บริษัท
และไม่มีผลกระทบที่สำคัญต่ออัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัท นอกจากนี้
โครงการดังกล่าวยังได้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท
ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนการรีไซเคิล

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 บริษัทอนุมัติการเข้าซื้อกิจการเส้นใย เส้นด้ายโพลีเอสเตอร์
และเส้นด้ายแบบพิเศษของ Trevira GmbH ซึ่งดำเนินกิจการในประเทศเยอรมนีและประเทศโปแลนด์ ในอัตราร้อยละ 75
ที่เหลืออีกร้อยละ 25 จะถือโดย Sinterama S.p.A. ประเทศอิตาลี ("ผู้ร่วมทุน")
การเข้าซื้อหุ้นในอัตราร้อยละ 100 ของ Trevira GmbH จะเข้าซื้อโดยผ่านบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่
ซึ่งการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนแห่งใหม่และการซื้อกิจการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในไตรมาสที่สองของป
2554 Trevira GmbH เป็นบริษัทที่ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ครบวงจรในยุโรป ด้วยกำลังการผลิต 120,000
ตันต่อปี ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนีและประเทศโปแลนด์ Trevira GmbH
เป็นผู้นำในตลาดยุโรปในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในธุรกิจยานยนต์และสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน Trevira
มีตราสินค้าที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและเป็นที่ยอมรับทั้งในกลุ่มลูกค้าและผู้ผลิตเส้นใยสังเคราะห์
บริษัทมีสิทธิบัตรที่มีมูลค่าและเทคโนโลยี รวมทั้งมีการวิจัยและพัฒนาอย่างเข้มแข็งฐานความรู้ของ Trevira
ที่ได้พัฒนาขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมาจะเอื้อประโยชน์ต่อ IVL
ประโยชน์จากการควบรวมธุรกิจนี้จะช่วยเสริมสร้างนวัตกรรมใหม่
สำหรับเครื่องแต่งกายและการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมของโพลีเอสเตอร์กับลูกค้าทั่วโลก

ในเดือนมีนาคม 2554 บริษัทย่อย พีที อินโดรามา เวนเจอร์ส อินโดนีเซีย (ชื่อเดิม "PT SK Keris")
อนุมัติลงทุนในโรงงานผลิต Continuous Polymerization resin กำลังการผลิต 300,000 ตันต่อปี ในเมือง
Purwakarta ประเทศ Indonesia ผลผลิตที่ได้จากโรงงานจะกระจายไปสู่ตลาดเส้นใย เส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และชิป
ในประเทศอินโดนีเซีย และภูมิภาคเอเชีย โรงงานดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่
3 ของปี 2556

ในเดือนเมษายน 2554 บริษัทประกาศการขยายโรงงาน การผลิต PET ในทวีปยุโรป ด้วยกำลังการผลิต 220,000
ตันต่อปี การขยายกำลังการผลิตดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2556 ทำให้ได้ข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุน
และทำให้กำลังการผลิต PET โดยรวมของบริษัทในทวีปยุโรปเพิ่มเป็น 1.3 ล้านตันต่อปี บริษัทมีโรงงานผลิต PET
5 แห่ง ทั่วทวีปยุโรป การขยายโรงงานนี้เกิดจากภาวะอุปสงค์และอุปทานภายในสหภาพยุโรป
ซึ่งในขณะนี้มีความต้องการมากกว่ากำลังการผลิตที่ผลิตได้
และยังมีความต้องการที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และความต้องการสินทรัพย์ใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 ได้อนุมัติการขยายการผลิต PTA
ภายในบริเวณโรงงาน ของบริษัทย่อยของ Indorama Holding Rotterdam BV โดยการเพิ่มสายการผลิตใหม่
ซึ่งมีกำลังการผลิต PTA อยู่ที่ 250,000 ตันต่อปี ทำให้กำลังการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 550,000
ตันต่อปี การขยายกำลังการผลิตดังกล่าวคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2556 ทำให้ได้ข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุน
และส่งเสริมการควบรวม PTA ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต PET ในทวีปยุโรป กำลังการผลิต PTA โดยรวมของ
IVL ในทวีปยุโรปจะเพิ่มขึ้นเป็น 742,000 ตันต่อปี

ภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าซื้อและการขยายกิจการที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้
บริษัทจะมีข้อได้เปรียบในการบริหารกิจการในระดับภูมิภาค
จากการขยายและการเข้าซื้อโรงงานที่ได้ประกาศไปแล้วจะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 ล้านตันต่อปี
บริษัทจะกลายเป็นผู้นำตลาดทั้งในประเทศไทย อเมริกาเหนือ และยุโรป โดยกำลังการผลิตแบ่งตามภูมิภาคของ IVL
แสดงดังต่อไปนี้
สิ้นสุดปี 2553 สิ้นสุดปี 2554 สิ้นสุดปี 2555
ล้านตันต่อปี ร้อยละ ล้านตันต่อปี ร้อยละ ล้านตันต่อปี ร้อยละ
เอเชีย 1.8 50% 2.4 42% 2.7 40%
ตะวันออกกลางและแอฟริกา - - 0.1 1% 0.1 1%
ยุโรป 1.2 33% 1.5 27% 2.2 33%
อเมริกาเหนือ 0.6 17% 1.7 30% 1.7 26%
รวม 3.6 100% 5.7 100% 6.7 100%



ข้อสังเกต : ธุรกิจห่วงโซ่มูลค่าของโพลีเอสเตอร์ โดยทั่วไปมีการซื้อขายในรูปดอลล่าร์สหรัฐ
ดังนั้นบริษัทจึงนำเสนอข้อมูลโดยการแปลงค่าเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐ
บริษัทจัดทำรายงานทางการเงินในรูปเงินบาท และข้อมูลที่แนบมาต่อไปนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของรายงานฉบับนี้
ข้อมูลที่แนบมารายงานถึงผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2554 และไตรมาสเปรียบเทียบ ในรูปเงินบาท
และมีการแปลงค่าเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐที่อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยและอัตราปิดขึ้นอยู่กับรายการ
ผู้อ่านพึงยึดผลประกอบการในรูปเงินบาทเป็นหลัก

การคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ : รายงานฉบับนี้ได้รวมถึงการคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ
ทั้งในปริมาณความต้องการในสินค้าของบริษัทและผลกระทบจากอัตราการเติบโตในงวดที่ผ่านมา
การประมาณการดังกล่าวมาจากข้อมูลข้างต้น การประมาณการภายใน สมมติฐานของฝ่ายบริหาร และแผนงาน
ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคต
ผลประกอบการจริงอาจแตกต่างเป็นอย่างมากจากการคาดการณ์ในรายงานฉบับนี้
หากสมมติฐานหรือการประมาณการบางอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เกิดขึ้นจริง


ข้อมูลทางการเงิน


- ข้อมูลทางการเงินรวม
- ข้อมูลจำแนกตามกลุ่มธุรกิจ
- งบกำไรขาดทุน และงบดุลรวมของบริษัท


ข้อมูลทางการเงินรวม

ตารางที่ 1
IVL : กระแสเงินสด
ไตรมาส 1/2554 เทียบกับ
หน่วย : ล้านบาท ไตรมาส 1/2554 ไตรมาส 1/2553 ไตรมาส 1/2553
EBITDA 6,554 3,010 118%
การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ดำเนินงานสุทธิและอื่นๆ (4,066) (503) 708%
ค่าใช้จ่ายทางการเงินสุทธิ (370) (407) -9%
ภาษีเงินได้ (71) (46) 54%
กระแสเงินสดอิสระก่อนรายจ่ายฝ่ายทุน 2,047 2,054 0%
รายจ่ายฝ่ายทุน (1,248) (408) 206%
เงินสดสุทธิจากการ (ซื้อ) ขายบริษัทย่อย (20,537) 0 n/a
กระแสเงินสดอิสระหลังรายจ่ายฝ่ายทุน (19,738) 1,646 -1299%
เงินปันผล 0 (1) -100%
เงินสดรับจากการออกหุ้นเพิ่มทุน 17,224 3,856 347%
การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินสุทธิ 2,514 (5,501) -146%

ข้อสังเกต: ข้อมูลทางการเงินรวมภายหลังการตัดรายการระหว่างกันในบริษัทในกลุ่ม (หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ)
ทำให้อาจไม่เท่ากับยอดรวมของแต่ละส่วนธุรกิจ

ตารางที่ 2
(ยังมีต่อ)