ที่ IVL001/08/2010

11 สิงหาคม 2553

เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินสอบทานสำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 และสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553
ของบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) และคำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ทางฝ่ายจัดการของบริษัท ขอนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้
1. สำเนางบการเงินสอบทานรวมและงบการเงินสอบทานเฉพาะบริษัท สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 และสำหรับงวดหก
เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 และสำหรับงวดหกเดือน
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน แบบฟอร์ม 45-3 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)



จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ




(นายอาลก โลเฮีย)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท




เลขานุการบริษัท
โทรศัพท์: +66 (0) 2661-6661
โทรสาร: +66 (0) 2661-6664



-1-

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 และสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553


ฝ่ายบริหารยินดีเป็นอย่างยิ่งในการรายงานผลประกอบการรายไตรมาสและงวดหกเดือนที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ผลประกอบการ
ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยพื้นฐานของห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ (Polyester Value Chain) ที่แข็งแกร่ง และลักษณะ
การประกอบธุรกิจภายในห่วงโซ่ของบริษัทที่กระจายไปใน 3 ทวีป การควบรวมธุรกิจเข้ากับการผลิต PTA และขนาดของบริษัท
นั้นทำให้เกิดโครงสร้างต้นทุนที่แข็งแกร่ง อีกทั้งบริษัทยังแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงของธุรกิจ แม้ในช่วงที่ราคาปิโตรเคมีภัณฑ์
และอัตราแลกเปลี่ยนโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL รายงานกำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับ
งวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 เท่ากับ 111 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,619 ล้านบาท) และสำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2553
เท่ากับ 65 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,089 ล้านบาท) ในปี 2553 เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เงินยูโรอ่อนตัวลงเป็น
อย่างมาก อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553 อ่อนตัวลงคิดเป็นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับอัตราปิดในปีที่แล้ว อัตรา
แลกเปลี่ยนดอลล่าร์สหรัฐต่อบาทอ่อนตัวลงคิดเป็นร้อยละ 5 ในช่วงเวลาเดียวกัน

ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ไตรมาส 2/2553 หกเดือนปี2553
ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส หกเดือน หกเดือนปี หกเดือน
2/2553 1/2553 2/2552 1/2553 2/2552 ปี 2553 2552 ปี 2552
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ 32.44 32.37 33.98 0% -5% 32.44 33.98 -5%
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อยูโร 39.59 43.41 47.98 -9% -17% 39.59 47.98 -17%
รายได้รวม 737 733 608 1% 21% 1,469 1,105 33%
PET 456 434 341 5% 34% 889 625 42%
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 100 105 86 -4% 17% 205 139 48%
PTA 180 194 181 -7% 0% 375 341 10%
กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 89 92 100 -2% -11% 181 179 1%
PET 54 51 56 6% -3% 105 101 4%
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 11 13 10 -11% 17% 24 17 41%
PTA 22 29 35 -24% -37% 51 60 -16%
กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนน้อย 65 47 51 39% 27% 111 82 35%
รายจ่ายฝ่ายทุน (CAPEX) 55 13 23 338% 139% 68 58 17%
หนี้สินสุทธิ 1,019 955 1,137 7% -10% 1,019 1,137 -10%
อัตราหนี้สินในการดำเนินงานสุทธิต่อ EBITDA 2.6 2.4 2.5 8% 6% 2.6 2.8 -7%
อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 10.0 9.3 8.7 -7% -15% 9.6 7.2 33%




-2-

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 บริษัทได้เข้าซื้อโรงงานสาธารณูปโภคในเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ทำให้เกิดรายการ
ปรับปรุงมูลค่ายุติธรรม "กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบ" จำนวน 563 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17 ล้านเหรียญ
สหรัฐ

ผลประกอบการของแต่ละกลุ่มธุรกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 เทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2552

PET - รายได้จากการขายเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากทั้งปริมาณขายและราคาขายที่เพิ่มขึ้น แม้จะมีผลกระทบ
ทางลบจากการอ่อนตัวลงอย่างมากของเงินยูโร ปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นโดยหลักมาจากการเริ่มดำเนินงานของสายการผลิตที่ 2 ของ
โรงงานอัลฟ่าเพ็ท ในสหรัฐอเมริกา และปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาลในตลาดโลก ราคาขายที่เพิ่มขึ้นสืบเนื่องมาจาก
ต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่สูงขึ้น อัตรากำไรในสหรัฐอเมริกาในปี 2553 ยังคงได้รับผลกระทบจากการเริ่มดำเนินงานของ
โรงงานใหม่ และถูกชดเชยโดยอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชีย อัตรากำไรในยุโรปในรูปของยูโรสูงขึ้นจากการนำเข้าที่ลดลง
ซึ่งสืบเนื่องจากจากการบังคับใช้ภาษีนำเข้า แต่ผลกระทบดังกล่าวได้ถูกหักกลบกันไปเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐ จากการอ่อนตัวลง
ของยูโร Operating EBITDA ของธุรกิจ PET เมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐ เติบโตคิดเป็นร้อยละ 4 ในงวดหกเดือนแรกของปี 2553
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ - อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จังหวัดระยอง (เดิมคือทุนเท็กซ์)
มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในปี 2553 และโรงงานได้ดำเนินงานเต็มกำลังการผลิต ในเดือนมิถุนายน 1 ใน 2 ของโรงงานโพลีเอ
สเตอร์ของบริษัทได้มีการปิดซ่อมบำรุง ซึ่งส่งผลให้ปริมาณขายลดลงในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่สองของปี 2553
รายได้จากการขายเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากทั้งปริมาณขายและราคาขายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วน
ของเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ราคาขายที่เพิ่มขึ้นสืบเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและพลังงานที่สูงขึ้นซึ่งสามารถส่งผ่านให้ลูกค้าได้ ปริมาณ
ความต้องการในตลาดในปี 2553 สูงขึ้นมาก เนื่องจากความกดดันในการลดต้นทุนของผู้ผลิตชาวจีน ซึ่งส่งผลให้อัตรากำไรสูงขึ้น
และยังเกิดจากความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ Operating EBITDA ของกลุ่มธุรกิจ เมื่อคิดเป็นดอลล่าร์สหรัฐเติบโตคิดเป็นร้อยละ
41 ในงวดหกเดือนแรกของปี 2553 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

PTA - รายได้จากการขายลดลงคิดเป็นร้อยละ 4 จากปริมาณขายที่ลดลง ซึ่งส่งผลมาจากการที่ 2 ใน 3 ของโรงงาน PTA ของบริษัท
ได้มีการปิดซ่อมบำรุงในเดือนมิถุนายน ปริมาณความต้องการยังคงสูง แต่การบริหารวัตถุดิบในขณะที่ราคาพาราไซลีน
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในไตรมาสนี้ ซึ่งราคาพาราไซลีนในตลาดลดลงเป็นอย่างมากในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ทำให้เกิด
การบันทึกผลขาดทุนในสินค้าคงเหลือ และเกิดผลกระทบทางลบต่ออัตรากำไรและ Operating EBITDA ในไตรมาสที่ 2
นอกจากนี้ การปิดซ่อมบำรุงโรงงานยังส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้น Operating EBITDA ของกลุ่มธุรกิจเมื่อคิดเป็นดอล
ล่าร์สหรัฐลดลงคิดเป็นร้อยละ 16 ในงวดหกเดือนแรกของปี 2553 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

กระแสเงินสด
บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานจำนวน 76 ล้านเหรียญสหรัฐ ในครึ่งปีแรกของปี 2553 เปรียบเทียบกับ 116 ล้านเหรียญ
สหรัฐในครึ่งปีที่แล้ว ในครึ่งปีแรกของปี 2553 นี้ มีกระแสเงินสดจ่ายสำหรับเงินทุนหมุนเวียนจากการเพิ่มขึ้นของทั้งปริมาณและ
ราคาสินค้า อีกทั้ง โครงการกรีนฟิลด์ของโรงงานผลิต PET ในสหรัฐอเมริกาได้เสร็จสิ้นลง และมีการเข้าซื้อโรงงานสาธารณูปโภค
ในเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ รายจ่ายฝ่ายทุนในครึ่งปีแรกของปี 2553 เท่ากับ 68 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้บริษัท
ได้มีการจ่ายเงินปันผลจำนวน 44 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนพฤษภาคม 2553

-3-

กำไรสุทธิหลังหักภาษีและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
บริษัทมียอดขายที่สูงขึ้นในกลุ่มธุรกิจ PET และเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ในครึ่งปีแรกของปี 2553 ทำให้รายได้เมื่อคิด
เป็นดอลล่าร์สหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 กำไรสุทธิหลังหักภาษีและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 111 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น
อัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 จากปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รวมการปรับปรุงมูลค่ายุติธรรม คือ ค่าความนิยมติดลบจำนวน 17 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่
เกิดจากการเข้าซื้อโรงงานสาธารณูปโภคในเนเธอร์แลนด์ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 เท่ากับร้อยละ 35
เปรียบเทียบกับร้อยละ 30 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2553

ฐานะทางการเงินและอัตราส่วนทางการเงิน
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553 หนี้สินสุทธิของบริษัทมีจำนวน 1,019 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงคิดเป็นอัตราร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว อัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัท เท่ากับร้อยละ 55 เปรียบเทียบกับร้อยละ 65 ในครึ่งปีแรกของ
ปี 2552 อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท เท่ากับร้อยละ 14 .8 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 เทียบกับร้อยละ 15.7 ในไตรมาสที่
1 ของปี 2553

แนวโน้มธุรกิจ

ผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกนี้เป็นไปตามประมาณการของบริษัท โครงสร้างห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ของบริษัทส่งผลให้
บริษัทสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นอกจากนี้ลูกค้าของบริษัทยังเป็นผู้ผลิตสินค้า
อุปโภคบริโภคที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยเหล่านี้จะยังคงนำบริษัทไปสู่ครึ่งปีหลังที่ดี บริษัทคาดว่าจะได้รับประโยชน์
จากการฟื้นฟูของเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ธุรกิจ PTA คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 ภายหลังการปิดซ่อมบำรุง
ในไตรมาสที่ 2 ในส่วนของกิจการร่วมทุนในธุรกิจ PTA และ PET ในอิตาลี ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทได้ตั้งใจในการพัฒนาธุรกิจอย่าง
เต็มความสามารถภายในสี่ไตรมาสข้างหน้า ฝ่ายบริหารยังคงมองหาโอกาสที่จะเติบโตในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก และตั้งใจที่จะสร้าง
ความเข้มแข็งในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียในครึ่งปีหลังของปี 2553 บริษัทได้วางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจจนถึงปี 2557
ซึ่งจะทำให้เกิดการเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจของบริษัท

ความคืบหน้าของโครงการ

การเสร็จสิ้นของโครงการอัลฟ่าเพ็ทซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2548 โดยการเริ่มเปิดดำเนินการในสายการผลิตที่ 2 ในต้นเดือนมิถุนายน 2553
สายการผลิตที่ 1 ได้เริ่มดำเนินการผลิตในเดือนตุลาคม 2552 ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินงานเต็มอัตราการผลิต อัลฟ่าเพ็ทตั้งอยู่ที่เมืองดี
คาร์ทัวร์ รัฐอลาบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีกำลังผลิตเม็ดพลาสติก PET ที่ 432,000 ตันต่อปี มีการใช้เทคโนโลยี Melt-To-
Resin ซึ่งมีข้อได้เปรียบมากมายเมื่อเทียบกับการใช้เทคโนโลยีแบบเก่า ซึ่งรวมถึงทำให้เกิดการประหยัดอย่างมากในด้านเงินทุน
และต้นทุนการผลิต รวมทั้งมีส่วนช่วยในการลดอัตราการใช้พลังงานและลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบจากปริมาณการ
ผลิตที่แท้จริงของอัลฟ่าเพ็ทจะสังเกตได้ในปี 2554

ในเดือนพฤษภาคม 2553 Indorama Holdings Rotterdam B.V. (IRHR) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ IVL ได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อกิจการ
สาธารณูปโภค ในเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเดิมถือโดย Air Products และ Eneco กิจการสาธารณูปโภคนี้ ตั้งอยู่ที่




-4-

เดียวกับโรงงานผลิต PTA และ PET ของบริษัทย่อยของบริษัท บริษัทได้เข้าซื้อสินทรัพย์สุทธิทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 24.6 ล้านยูโร
หรือประมาณ 1,049 ล้านบาท การเข้าซื้อกิจการดังกล่าวเข้าเกณฑ์ของการควบรวมธุรกิจ ตามมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 43
เรื่องการควบรวมธุรกิจ ซึ่งกำหนดให้สินทรัพย์สุทธิที่ได้มาและหนี้สินถูกบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรม ผู้ประเมินอิสระได้ทำการ
ประเมินมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เข้าซื้อ และบริษัทได้ทำการบันทึกมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิที่ได้มาและหนี้สิน
ตามนั้น งบการเงินรวมของบริษัทได้บันทึกรายการกำไรหรือค่าความนิยมติดลบจำนวน 563 ล้านบาท (ประมาณ 14 ล้านยูโร) จาก
การเข้าซื้อกิจการสาธารณูปโภคในเมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ภายใต้ "กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ" ในงบกำไร
ขาดทุนสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2553 และสำหรับงวดหกเดือน ปี 2553 รายการกำไรจากการต่อรองราคาซื้อถือเป็นรายการที่ไม่ใช่
เงินสด ซึ่งจะมีการตัดค่าเสื่อมราคาตลอดอายุประมาณ 20 ปี

ในเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ได้มีมติอนุมัติการเพิ่มสายการผลิตเม็ดพลาสติก PET ภายในบริเวณ
โรงงาน Indorama Polymers Rotterdam BV ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติก PET อีก 190,000 ตัน ทำให้กำลังการผลิตทั้งหมด
ของโรงงานเป็น 390,000 ตัน การขยายโรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการผลิตได้ภายในไตรมาสที่ 1 ของปี
2555 การขยายโรงงานครั้งนี้ทำให้เกิดการว่าจ้างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทในยุโรป และ
เพิ่มการบริโภค PTA ภายในกลุ่ม จนเต็มจำนวนการผลิต 350,000 ตัน และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากบริษัทในกลุ่มที่ตั้งอยู่
ในบริเวณเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการประหยัดต่อขนาดด้วย การขยายโรงงานนี้คาดว่าจะเพิ่มกำไรแก่บริษัท และไม่
ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัท

ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 UAB Ottana Polimeri Europe ได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อธุรกิจผลิต PTA และ PET จาก Equipolymers
S.R.L. โดยการเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ Ottana Polimeri S.R.L ซึ่งจดทะเบียนในประเทศอิตาลี เป็นจำนวนเงิน 100,000 ยูโร หรือ
3.96 ล้านบาท กิจการดังกล่าวประกอบด้วยกำลังการผลิต PTA ที่ 192,000 ตัน และกำลังการผลิต PET ที่ 150,000 ตัน รายการ
เข้าซื้อกิจการดังกล่าวคาดว่าจะเพิ่มกำไรและมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้นของบริษัท รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราหนี้สินสุทธิต่อ
เงินทุนของบริษัท UAB Ottana Polimeri Europe ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศลิธัวเนีย ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทร่วม
ทุนในอัตราร้อยละ 50 ต่อร้อยละ 50 ระหว่าง IVL และ PCH Holidngs S.R.L. เพื่อการเข้าซื้อธุรกิจดังกล่าว

ในเดือนสิงหาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานผลิต PET ใหม่โดยบริษัทย่อย อินโด
รามา โพลีเมอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IRP ซึ่ง IRP จะ ทำการจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนในโรงงานผลิต PET แบบ Solid state
polymerization "SSP" ที่มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี ที่ Port Harcourt ประเทศไนจีเรีย การลงทุนครั้งนี้ ถือเป็นการลงทุน
ครั้งแรกของบริษัทในแอฟริกา ที่ซึ่งตลาดมีความต้องการถึง 450,000 ตันต่อปี ในปัจจุบันมีเพียงผู้ผลิต PET รายเดียวเท่านั้นใน
แอฟริกา โรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 และคาดว่าจะเพิ่มกำไร
แก่บริษัท และไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัท

ในเดือนสิงหาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งโครงการ PET รีไซเคิล (Flake to Resins) ที่
กำลังการผลิต 36,000 ตันต่อปี ที่โรงงานอัลฟ่าเพ็ท ประเทศสหรัฐอเมริกา โครงการนี้สอดคล้องกับความต้องการของ
บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค กระบวนการและเทคโนโลยีนี้ได้รับการอนุมัติแล้ว และชิ้นส่วนหรือ
เกล็ด PET (PET flake) จะถูกป้อนจากภายในพื้นที่โรงงานเดียวกัน โครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการในไตรมาส
ที่ 4 ของปี 2554 และคาดว่าจะเพิ่มกำไรแก่บริษัท และไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของ


-5-

บริษัท นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังได้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ในการรักษา
สิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนการรีไซเคิล

ในเดือนสิงหาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งโครงการไฟฟ้าพลังงานจากแสงอาทิตย์ขนาด
2 เมกกะวัตต์ ที่จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะส่งผ่านไปยัง PEA grid และเครื่องผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (VSPP) ซึ่ง
จะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อการลงทุนในพลังงานทดแทน ประเทศไทยมีแสงอาทิตย์มากที่จะนำไปผลิตพลังงานจาก
แสงอาทิตย์อันเป็นแหล่งพลังงานทดแทน โครงการนี้จะตั้งอยู่ภายในพื้นที่โรงงานของบริษัทซึ่งเป็นพื้นที่ว่างในเขตพื้นที่สีเขียว
(Green Zone) นอกจากนี้ โครงการยังได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ในการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีนำเข้า
รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ บริษัทคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 โครงการ
ดังกล่าวยังได้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ในการรักษาสิ่งแวดล้อม การลดระดับก๊าซ
คาร์บอน และการพัฒนาชุมชน



ข้อสังเกต : ธุรกิจห่วงโซ่มูลค่าของโพลีเอสเตอร์ โดยทั่วไปมีการซื้อขายในรูปดอลล่าร์สหรัฐ ดังนั้นบริษัทจึงนำเสนอข้อมูลโดยการแปลงค่าเป็นเงินดอล
ล่าร์สหรัฐ บริษัทจัดทำรายงานทางการเงินในรูปเงินบาท และข้อมูลที่แนบมาต่อไปนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของรายงานฉบับนี้ ข้อมูลที่แนบมารายงานถึงผล
ประกอบการของไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ในรูปเงินบาท และมีการแปลงค่าเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐที่อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยและอัตราปิด ผู้อ่านพึงยึดผล
ประกอบการในรูปเงินบาทเป็นหลัก

การคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ : รายงานฉบับนี้ได้รวมถึงการคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ ทั้งในปริมาณความต้องการในสินค้าของบริษัทและ
ผลกระทบจากอัตราการเติบโตในงวดที่ผ่านมา การประมาณการดังกล่าวมาจากข้อมูลข้างต้น การประมาณการภายใน สมมติฐานของฝ่ายบริหาร และ
แผนงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคต ผลประกอบการจริงอาจแตกต่างเป็นอย่างมากจากการคาดการณ์ใน
รายงานฉบับนี้ หากสมมติฐานหรือการประมาณการบางอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เกิดขึ้นจริง




-6-

ข้อมูลทางการเงิน



- ข้อมูลทางการเงินรวม
- ข้อมูลจำแนกตามกลุ่มธุรกิจ
- งบกำไรขาดทุน และงบดุลรวมของบริษัท




-7-

ข้อมูลทางการเงินรวม

ตารางที่ 1
IVL : กระแสเงินสด
หกเดือน
ปี 2553 เทียบกับ
หกเดือน หกเดือน หกเดือน
หน่วย : ล้านบาท ปี 2553 ปี 2552 ปี 2552
EBITDA 5,904 6,260 -6%
การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ดำเนินงานสุทธิและอื่นๆ (2,616) (1,514) 73%
ค่าใช้จ่ายทางการเงินสุทธิ (655) (857) -24%
ภาษีเงินได้ (140) (14) 900%
กระแสเงินสดอิสระก่อนรายจ่ายฝ่ายทุน 2,493 3,875 -36%
รายจ่ายฝ่ายทุน (1,163) (2,033) -43%
เงินสดสุทธิจากการ (ซื้อ) ขายบริษัทย่อย (1,049) 0 n/a
กระแสเงินสดอิสระหลังรายจ่ายฝ่ายทุน 281 1,842 -85%
เงินปันผล (1,448) (139) 942%
เงินสดรับจากการออกหุ้นเพิ่มทุน 3,825 0 n/a
การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินสุทธิ (2,658) (1,703) 56%


ข้อสังเกต: ข้อมูลทางการเงินรวมภายหลังการตัดรายการระหว่างกันในบริษัทในกลุ่ม (หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ) ทำให้อาจไม่เท่ากับยอดรวมของแต่ละ
ส่วนธุรกิจ


ตารางที่ 2
IVL : อัตราส่วนทางการเงิน
ไตรมาส 2/2553 ไตรมาส 1/2553 ไตรมาส 2/2552
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 1.0 1.0 0.8
อัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัท (%) 55% 53% 65%
* อัตราหนี้สินในการดำเนินงานสุทธิต่อเงินทุนของบริษัท (%) 53% 51% 62%
อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (เท่า) 10.0 9.3 8.7
** อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) 34.9% 29.7% 48.8%
*** อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท (%) 14.8% 15.7% 20.5%


* คิดจากหนี้สินในการดำเนินงานสุทธิ ซึ่งไม่รวมหนี้สินของโครงการลงทุนที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้และกำไรแก่กิจการ
** กำไรสุทธิหลังหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท
*** กำไรจากการดำเนินงาน (Operating income) ต่อเงินทุนของบริษัท (หนี้สินในการดำเนินงานสุทธิบวกส่วนของผู้ถือหุ้น)




-8-

ธุรกิจ PET

ตารางที่ 3
ธุรกิจ PET : กำลังการผลิตและอัตราการใช้กำลังการผลิต (%)
ไตรมาส 2/2553 หกเดือนปี 2553
เทียบกับ เทียบกับ
ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส หกเดือน หกเดือน หกเดือน
2/2553 1/2553 2/2552 1/2553 2/2552 ปี 2553 ปี 2552 ปี 2552
* กำลังการผลิต (ตัน) 336,192 316,110 238,844 6% 41% 652,301 475,063 37%
ปริมาณผลิต (ตัน) 320,878 297,993 255,496 8% 26% 618,872 497,625 24%
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%) 95% 94% 107% 95% 105%

* กำลังการผลิตคำนวณจากจำนวนวันในแต่ละไตรมาส สำหรับไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 2553 และงวดหกเดือน ปี 2553 ได้รวมสายการผลิตที่แปลงจาก
การผลิตโพลีเอสเตอร์เป็นการผลิตเม็ดพลาสติก PET


ตารางที่ 4
ธุรกิจ PET : รายได้

ไตรมาส 2/2553 หกเดือนปี2553
เทียบกับ เทียบกับ
(ยังมีต่อ)