คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ


ที่ IVL004/08/2011
10 สิงหาคม 2554

เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินสอบทานสำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 และสำหรับงวดหกเดือน ปี 2554 ของบริษัท
อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) และคำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ทางฝ่ายจัดการของบริษัท ขอนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้

1. สำเนางบการเงินสอบทานรวมและงบการเงินสอบทานเฉพาะบริษัท สำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2554
และสำหรับงวดหกเดือน ปี 2554 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2554
และสำหรับงวดหกเดือน ปี 2554 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน แบบฟอร์ม 45-3 สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2554
และสำหรับงวดหกเดือน ปี 2554 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ



(นายอาลก โลเฮีย)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ




เลขานุการบริษัท
โทรศัพท์: +66 (0) 2661-6661
โทรสาร: +66 (0) 2661-6664


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานรวม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 และสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2554


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL รายงานกำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้
ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) สำหรับงวดหกเดือน ปี 2554 เท่ากับ 362 ล้านเหรียญสหรัฐ
(11,007 ล้านบาท) และกำไรสุทธิหลักรวมหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เท่ากับ 238
ล้านเหรียญสหรัฐ (7,247 ล้านบาท) ฐานะทางการเงินรวมยังคงแข็งแกร่งขึ้น และณ วันที่ 30 มิถุนายน 2554
อัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัทลดลงจากร้อยละ 48 เป็นร้อยละ 37 และมีสภาพคล่องสูงถึง 1,454
ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด และวงเงินสินเชื่อที่ยังมิได้เบิกใช้

ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาส 2/2554 เทียบกับ หกเดือน
ปี2554
เทียบกับ
ไตรมาส 2/2554 ไตรมาส 1/2554 ไตรมาส 2/2553 ไตรมาส 1/2554 ไตรมาส 2/2553 หกเดือน ปี2554 หกเดือน
ปี2553 หกเดือน
ปี2553
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ 30.75 30.30 32.44 1% -5% 30.75 32.44 -5%
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อยูโร 44.52 42.86 39.59 4% 12% 44.52 39.59 12%
*รายได้จากการขายรวม 1,692 1,328 737 27% 130% 3,019 1,469 105%
PET 1,199 869 456 38% 163% 2,066 889 132%
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 212 189 100 12% 111% 400 205 95%
PTA 285 269 180 6% 58% 555 375 48%
*กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core
EBITDA) 181 157 94 15% 93% 339 176 93%
PET 127 84 56 51% 127% 211 103 105%
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 30 38 13 -21% 131% 68 23 196%
PTA 27 42 23 -36% 17% 69 51 35%
*กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 147 215 88
-31% 67% 362 179 103%
PET 103 117 54 -12% 89% 224 105 113%
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 25 48 11 -47% 121% 68 24 178%
PTA 22 55 22 -60% -1% 78 51 54%
*กำไรหลักก่อนหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (Core profit) 122 111 59 10% 107% 234
108 116%
กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (Net profit) 79 362 63 -78% 25% 441 109
306%



ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ (ต่อ)
ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาส 2/2554 เทียบกับ หกเดือน
ปี2554
เทียบกับ
ไตรมาส 2/2554 ไตรมาส 1/2554 ไตรมาส 2/2553 ไตรมาส 1/2554 ไตรมาส 2/2553 หกเดือน ปี2554 หกเดือน
ปี2553 หกเดือน
ปี2553
รายจ่ายฝ่ายทุน (CAPEX) 67 713 56 -91% 21% 781 68 1052%
หนี้สินสุทธิ 1,168 1,088 1,019 7% 15% 1,168 1,019 15%
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 0.6 0.5 1.2 9% -52% 0.6 1.2 -52%
อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 9.3 16.4 9.9 -43% -5% 12.5 9.5 32%
อัตราผลตอบแทนหลักต่อเงินทุนของบริษัท (Core ROCE) 18% 19% 16% -5% 12% 20% 15% 33%
อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท (ROCE) 13% 28% 15% -53% -7% 22% 15% 47%
*อ้างถึงข้อสังเกต1 หน้า 9

? ตั้งแต่ไตรมาสนี้เป็นต้นไป ฝ่ายจัดการขอนำเสนอทั้งกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) และ กำไรหลักก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย
(Core EBITDA) และกำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (Net profit) และ
กำไรหลักก่อนหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (Core profit)

ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 เป็นไปในทิศทางเดียวกับการคาดการณ์ของผู้บริหาร บริษัท
ฯรายงานกำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของ ไตรมาสที่ 2
ของปี 2554 เท่ากับ 147 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ซึ่งเท่ากับ 215
ล้านเหรียญสหรัฐ แต่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 88 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในขณะที่ Core EBITDA ไม่รวมผลกระทบจากกำไรขาดทุนในสินค้าคงเหลือ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 จะเท่ากับ
181 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงกว่า 157 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 การเพิ่มขึ้นของ Core
EBITDA เป็นผลมาจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น แม้อัตรากำไรจะลดลงเล็กน้อยก็ตาม ผลประกอบการไตรมาสที่ 2
ของปี 2554 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องมาจาก
จำนวนการผลิดที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าซื้อกิจการ และอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้น ในยุโรป และสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นผลมาจากการควบรวมในอุตสาหรรม และ
ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ที่มีราคาไม่แพง แผนภาพต่อไปนี้ แสดงถึง Core
EBITDA ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน









IVL Core EBITDA และ Core EBITDA ต่อตัน ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2554

บริษัทฯมีกำไรหลัก (Core profit) (ซึ่งไม่รวมรายการพิเศษ และกำไรขาดทุนจากสินค้าคงเหลือ) เท่ากับ 122
ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ซึ่งเท่ากับ 111
ล้านเหรียญสหรัฐ และไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 59 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่กำไรสุทธิ (Net
profit) (ซึ่งรวมรายการพิเศษ และกำไรขาดทุนจากสินค้าคงเหลือ) เท่ากับ 79 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 2
ของปี 2554 ซึ่งต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ซึ่งเท่ากับ 362 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังสูงกว่าไตรมาสที่
2 ของปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 63 ล้านเหรียญสหรัฐ

? ผลการดำเนินงานในปี 2554 แข็งแกร่งขึ้นเนื่องมาจาก ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น Core EBITDA
ต่อตันที่เพิ่มขึ้น ดังเห็นได้จากแผนภาพต่อไปนี้

IVL Core EBITDA ระหว่างไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ถึง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554




? ผลกระทบเมื่อเทียบปีต่อปี และไตรมาสต่อไตรมาสเป็นไปดังนี้

ไตรมาส 2/2554 เทียบกับ ไตรมาส 2/2553 ไตรมาส 2/2554 เทียบกับ ไตรมาส 1/2554
ปริมาณการผลิต เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจ และทุกภูมิภาค เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจ และทุกภูมิภาค

อัตราการใช้กำลังการผลิต ลดลงในกลุ่มธุรกิจ PET และโพลีเอสเตอร์ เนื่องมาจาก
ผลกระทบจากพายุทอร์นาโดในสหรัฐอเมริกา และ ความขัดข้องในโรงงานที่ระยอง ส่งผลกระทบต่อ EBITDA เป็นจำนวน
16 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายหลังค่าเผื่อจากความเสียหายนี้ ลดลงในกลุ่มธุรกิจ PET และโพลีเอสเตอร์
เนื่องมาจาก ผลกระทบจากพายุทอร์นาโดในสหรัฐอเมริกา และ ความขัดข้องในโรงงานที่ระยอง ส่งผลกระทบต่อ
EBITDA เป็นจำนวน 16 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายหลังค่าเผื่อจากความเสียหายนี้
อัตรากำไรในกลุ่มธุรกิจ
PTA ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทั่วโลก ในทวีปเอเชียปรับตัวลงภายหลังอัตรากำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสที่ 1
ของปี 2554
ในทวีปยุโรปและ สหรัฐอเมริกา อัตรากำไรมีความสม่ำเสมอตลอดทั้งไตรมาส
อัตรากำไรในกลุ่มธุรกิจ PET เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา และ ทวีปยุโรป เนื่องมาจาก การควบรวมธุรกิจ
และความต้องการที่เพิ่มขึ้น อัตรากำไรคงที่ในทวีปเอเชีย เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา และ
ทวีปยุโรปเนื่องมาจาก การควบรวมธุรกิจ และความต้องการที่เพิ่มขึ้น
และเพิ่มขึ้นในทวีปเอเชียเนื่องมาจากอัตรากำไรของ PTA ที่ลดลง
อัตรากำไรในกลุ่มธุรกิจโพลีเอสเตอร์
และเส้นใยจากขนสัตว์ เพิ่มขึ้นอย่างมากทั่วโลกเนื่องจากราคาที่ไม่แพงและการจัดหาที่ง่ายเมื่อเทียบกับฝ้า
ย คงที่ทั่วโลกเนื่องจากราคาที่ไม่แพงและการจัดหาที่ง่ายเมื่อเทียบกับฝ้าย
วัตถุดิบและราคาสินค้า เพิ่มขึ้นอย่างมากทำให้มีกำไรในสินค้าคงเหลือ 25
ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงอย่างมากทำให้มีขาดทุนในสินค้าคงเหลือ 34 ล้านเหรียญสหรัฐ


แนวโน้มธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554

เมื่อเร็วๆนี้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ (Credit rating) ของสหรัฐอเมริกาถูกปรับลดลง
และความหวาดกลัวต่อการเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลงในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง
รวมถึงราคาน้ำมันดิบและปิโตรเคมีภัณฑ์ในอาทิตย์นี้
ราคาสัญญาฟิวเจอร์ของฝ้ายจะลดลงซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ

เนื่องจากลักษณะของโพลีเอสเตอร์ที่จัดหาง่าย และเป็นสินค้าอุปโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (อาหาร
เครื่องดื่ม และเสื้อผ้า) ทำให้ความต้องการในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯเติบโตทั่วทุกภูมิภาค
และทุกโรงงานผลิตของบริษัทฯมีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงในปัจจุบัน
ดังนั้นบริษัทฯจึงคาดว่าปริมาณสินค้าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 นี้
และสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โรงงานอัลฟ่าเพ็ท รัฐAlabama สหรัฐอเมริกา และ
โรงงาน อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ ที่จังหวัดระยอง ประเทศไทย ได้ดำเนินการผลิตอย่างเต็มรูปแบบ
หลังจากที่มีการปิดโรงงานชั่วคราวในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 เนื่องจากพายุทอร์นาโด และปิดซ่อมบำรุง
ตามลำดับ

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 จะเป็นไตรมาสแรกที่ได้เริ่มดำเนินการผลิตอย่างเต็มไตรมาส
ของกิจการที่เข้าซื้อและเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 เป็นที่คาดการณ์ว่ารายได้ กำไร และ
กระแสเงินสดจะเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 และไตรมาสต่อๆไป
บริษัทฯคาดหวังว่าจะได้รับผลดีจากการที่บริษัทมีโรงงานอยู่ทั่วภูมิภาคหลัก
จะทำให้บริษัทเป็นผู้นำของตลาด และการควบรวมในอุตสาหกรรม การลงทุนในนวัตกรรม
หรือสินค้าเพิ่มมูลค่าจะทำให้อัตรากำไรโดยรวมเพิ่มมากขึ้น และจะเป็นประโยชน์ต่อไปอีกในภายภาคหน้า
นอกจากนี้ บริษัทฯได้เห็นถึงอัตรากำไรของ PTA ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคมนี้
ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554

บริษัทฯเห็นว่าราคาพาราไซรีนที่สูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัยบวกต่อบริษัทฯ
เนื่องจากบริษัทฯมีการทำสัญญาซื้อพาราไซรีนทั้งในเอเชียและยุโรป
บริษัทฯยังคงได้รับประโยชน์จากการควบรวมธุรกิจ PTA ซึ่งทำให้อัตรากำไรของ PET โดยเฉพาะในเอเชีย
มีความผันผวนลดลง อีกทั้งยังสร้างความมั่นคงและความน่าเชื่อถือแก่ลูกค้า การผลิต PTA
ในกลุ่มบริษัทฯเป็นไปเพื่อการบริโภคภายในกลุ่มธุรกิจ เนื่องจากกำลังการผลิต PTA
ทั้งหมดของบริษัทฯในเอเชียนั้นเท่ากับ 1.37 ล้านตันต่อปี และกำลังการผลิต PET
ทั้งหมดของบริษัทฯในเอเชียนั้นเท่ากับ 1.30 ล้านตันต่อปี ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.65 ล้านตันต่อปีในปี
2555 PTA ในประเทศไทย ยังถูกส่งไปเพื่อใช้ในการผลิต PET ที่โรงงานในยุโรป เนื่องจากผู้ขาย PTA
ในยุโรปรายอื่นมีความขัดข้องในการจัดหาสินค้าให้บ่อยครั้ง

โดยสรุปแล้ว บริษัทฯคาดหวังว่าอัตรากำไรโดยรวมจะคงที่
และจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญจากการเจริญเติบโตเศรษฐกิจโลกที่ลดลง
หรือสภาวะอุตสาหกรรมพาราไซรีนและ PTA ในปัจจุบัน


โครงการที่ประกาศในไตรมาสที่ 2 จนถึง ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554

กำลังการผลิตปรับปรุง
กำลังการผลิตของแต่ละโรงงานได้ถูกปรับปรุงให้สะท้อนการขยายกำลังการผลิตที่ผ่านมา ในทุกกลุ่มธุรกิจ
(รวมถึงกิจการร่วมลงทุน Ottana Polimeri)
อัตราการใช้กำลังการผลิตคำนวณจากกำลังการผลิตปรับปรุงของแต่ละโรงงานในแต่ละกลุ่มธุรกิจ
การใช้กำลังการผลิตปรับปรุงทำให้กำลังการผลิตทั้งหมดของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 5.4 ล้านตันต่อปี เป็น 5.7
ล้านตันต่อปี ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
กำลังการผลิต กำลังการผลิตปรับปรุง
ล้านตันต่อปี ล้านตันต่อปี
PET 3.2 3.3
เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ 0.4 0.5
PTA 1.8 1.9
รวม 5.4 5.7





โครงการที่ได้รับการอนุมัติในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554

ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554
ได้มีมติอนุมัติการลงทุนในโรงงานรีไซเคิลใหม่ในประเทศไทย
และลงทุนในธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์โดยใช้เทคโนโลยีระดับสูงในประเทศไทยและอินโดนีเซีย
โครงการเหล่านี้เป็นธุรกิจพิเศษที่สามารถเพิ่มมูลค่า และอัตรากำไรให้แก่สินทรัพย์ที่มีอยู่เดิม
โดยมีรายละเอียดต่างๆดังนี้:

การลงทุนในการผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 28,500 ตันต่อปี
ภายใต้โครงการนี้ ของที่ถูกทิ้ง/ บริโภคแล้ว ขวด PET
จะถูกรวบรวมและรีไซเคิลไปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกคุณภาพสูงเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่ม
เส้นใยจากขนสัตว์พิเศษเพื่อใช้ผลิตเครื่องแต่งกายภายใต้ตราสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
และเส้นด้ายสีสำหรับยานยนต์และเส้นด้ายที่ไม่ผ่านการทอ บริษัทฯได้ออกตราสินค้า ECORAMA
สำหรับผลิตภัณฑ์เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล และเพิ่งได้รับรางวัลใบประกาศ Green Label
จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย โครงการนี้จะตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย ใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ
22.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินงานได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555

การลงทุนในโครงการเส้นใยผสมสำหรับสินค้าอนามัย (Bi-component project for Hygiene Application)
ด้วยกำลังการผลิต 16,000 ตันต่อปี บริษัทฯได้เข้าสู่ตลาดการใช้วัตถุดิบที่ไม่ผ่านการทอ
และเพิ่งซื้อเครื่องผลิตเส้นใยผสมในยุโรปที่ Trevira เพื่อธุรกิจอนามัย
สินค้าอนามัยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตชั้นนำ และใกล้ชิดกับผู้บริโภค
เพื่อที่จะสามารถระบุความต้องการในผลิตภัณฑ์ที่ใช้สัมผัสกับผิวหนัง เช่น ผ้าอ้อมเด็ก
ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยของผู้หญิง และอื่นๆ
โครงการใหม่นี้จะทำการผลิตส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการผลิตเส้นใยผสมสำหรับสินค้าอนามัย
โดยใช้เทคโนโลยีร่วบกับ Toyobo ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในสาขานี้
โครงการนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ประเทศไทย ใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 21.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินงานได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555

การลงทุนในเส้นใยผสมคุณภาพสูง (FINNE) ที่โรงงาน IVI ที่เพิ่งเข้าซื้อกิจการมา (เดิมชื่อ SK Keris)
ที่เมือง Tangerang ประเทศอินโดนีเซีย ด้วยกำลังการผลิต 16,000 ตันต่อปี IVI
มีเทคโนโลยีเฉพาะในการผลิตเส้นใยผสม (FINNE) โดยผ่านเพียงหนึ่งกระบวนการผลิต
บริษัทฯจะได้ข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันกว่าบริษัทอื่นที่ยังต้องผ่านสองกระบวนการผลิต
และจะมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดัยหนึ่งอย่างแน่นอนในกลุ่มธุรกิจนี้
ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับความนิยมสำหรับการผลิตเสื้อผ้าชั้นนอก และเป็นคุณสมบัติพิเศษของผ้าม่าน
ซี่งยังมีคู่แข่งขันน้อยรายที่ผลิตได้ ทำให้บริษัทฯมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง
โครงการนี้คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 38.0 ล้านเหรียญสหรัฐ
โครงการจะสามารถเปิดดำเนินงานได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556


โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 บริษัท Trevira Holdings GmbH ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน
(อัตราส่วนในการถือหุ้น ร้อยละ 75-IVL: ร้อยละ 25-Sinterama S.p.A) ได้เสร็จสิ้นการเข้าซื้อ Trevira
GmbH of Germany ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ครบวงจรในยุโรป ด้วยกำลังการผลิต 120,000
ตันต่อปี ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนีและประเทศโปแลนด์ Trevira GmbH
เป็นผู้นำในตลาดยุโรปในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ชนิดพิเศษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ในธุรกิจยานยนต์และสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน Trevira
มีตราสินค้าที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและเป็นที่ยอมรับทั้งในกลุ่มลูกค้าและผู้ผลิตเส้นใยสังเคราะห์
การซื้อกิจการ Trevira GmbH จะทำให้บริษัทก้าวเข้าสู่ธุรกิจเส้นใย เส้นด้ายชนิดพิเศษ
อีกทั้งยังมีฐานการวิจัยการพัฒนา และทรัพย์สินทางปัญญา
โดยลูกค้าจะได้รับประโยชน์จากความหลากหลายของสินค้าเพิ่มมูลค่า
โดยผ่านเครือข่ายช่องทางการตลาดที่มีอยู่ทั่วโลกและเครือข่ายการขายของผู้ร่วมทุน
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทที่จะดึงดูดลูกค้ารายใหม่ที่มีความต้องการสินค้าที่หลากหลาย

คณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2554 ได้มีมติอนุมัติให้บริษัท Indorama Netherlands B.V.
ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 50 ของ PT Polyprima Karyesreska ("PT Polyprima") ผู้ผลิตสาร PTA
บริษัท PT Polyprima ตั้งอยู่ที่ Cilegon, West Java ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง
465,000 ตันต่อปี และได้ใช้เทคโนโลยีจาก Invista ซึ่งในขณะนี้ PT Polyprima
อยู่ในระหว่างกระบวนการการปรับโครงสร้างหนี้ หลังจากการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ และ PT Polyprima
จะมีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯใน PT Polyprima จะลดลงเหลือร้อยละ 41 และ
PT Indorama Synthetics Tbk, (PTIRS) จะถือหุ้นอีกร้อยละ 41 และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆถือหุ้นร้อยละ 18
ทั้งนี้การปรับโครงสร้างดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 PTIRS
เป็นบริษัทในกลุ่มของนายศรี ปรากาซ โลเฮีย และนายอมิต โลเฮีย
ซึ่งเป็นกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารของบริษัท โดยมีกำลังการผลิตโพลีเมอร์ 290,000 ตันต่อปี
ปัจจุบันโรงงานดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการผลิต โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่ 2
ของปี 2555 เมื่อเสร็จสิ้นการบำรุงรักษาที่จำเป็น และการเพิ่มกำลังการผลิต
หลังจากที่ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 500,000
ตันต่อปี ประเทศอินโดนีเซียมีการเติบโต โดยก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านตลาดโพลีเอสเตอร์ ซึ่งปริมาณ PTA
มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น จากการที่บริษัทถือหุ้นใน PT Polyprima
จะเพิ่มความปลอดภัยในการจัดหาวัตถุดิบ PTA
เพื่อใช้สำหรับโรงงานโพลีเอสเตอร์ของบริษัทฯในประเทศอินโดนีเซีย หลังจากที่ได้ดำเนินโครงการ Greenfield
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 เสร็จสิ้นแล้ว บริษัทฯจะมีกำลังการผลิตโพลีเมอร์ในประเทศอินโดนีเซีย ประมาณ
500,000 ตันต่อปี

ตามมติที่ประชุมกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 ได้มีมติให้ขยายกำลังการผลิต PTA ที่
Indorama Holdings Rotterdam BV โดยเพิ่มกำลังการผลิต 250,000 ตันต่อปี ทำให้มีกำลังการผลิตรวม 600,000
ตันต่อปี การขยายกำลังการผลิตนี้คาดว่าจะเสร็จในปี 2556 จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบด้านต้นทุน
และส่งเสริมการควบรวม PTA ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต PET ในทวีปยุโรป ทั้งนี้
บริษัทฯจะมีกำลังการผลิต PTA ในยุโรปเพิ่มขึ้นเป็น 792,000 ตันต่อปี

ในเดือนเมษายน 2554 บริษัทประกาศการขยายโรงงาน การผลิต PET ในทวีปยุโรป ด้วยกำลังการผลิต 220,000
ตันต่อปี การขยายกำลังการผลิตดังกล่าวอยู่ในโรงงานผลิต PET
เดิมที่มีอยู่แล้วในประเทศโปแลนด์ภายใต้บริษัท Indorama Polymers Poland S.p.z.o.o
ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด และการใช้ท่อส่ง PTA ร่วมกับบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ผลิต PTA
การขยายกำลังการผลิตคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2556
และจะทำให้เกิดข้อได้เปรียบด้านต้นทุนและเพิ่มกำลังการผลิตทั้งหมดในประเทศโปแลนด์เป็น 370,000 ตันต่อปี
และบริษัทฯจะมีกำลังการผลิต PET ในทวีปยุโรปรวมเท่ากับ 1.4 ล้านตันต่อปี

ในเดือนมีนาคม 2554 บริษัทย่อย พีที อินโดรามา เวนเจอร์ส อินโดนีเซีย (ชื่อเดิม "PT SK Keris")
อนุมัติการเพิ่มสายการผลิต Continuous Polymerization resin กำลังการผลิต 300,000 ตันต่อปี ในเมือง
Purwakarta ประเทศ Indonesia ผลผลิตที่ได้จากโรงงานจะกระจายไปสู่ตลาดเส้นใย เส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และชิป
ในประเทศอินโดนีเซีย และภูมิภาคเอเชีย ที่มีความต้องการสูงขึ้น
โรงงานดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556

ในเดือนสิงหาคม 2553 คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้จัดตั้งโครงการ PET รีไซเคิล (Flake to Resins)
ที่กำลังการผลิต 36,000 ตันต่อปี ที่โรงงานอัลฟ่าเพ็ท ประเทศสหรัฐอเมริกา
โครงการนี้สอดคล้องกับความต้องการของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค
กระบวนการและเทคโนโลยีนี้ได้รับการอนุมัติแล้ว และชิ้นส่วนหรือเกล็ด PET (PET flake)
จะถูกป้อนจากภายในพื้นที่โรงงานเดียวกัน โครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 4
ของปี 2554 และคาดว่าจะเพิ่มกำไรแก่บริษัท
และไม่มีผลกระทบที่สำคัญต่ออัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัท นอกจากนี้
โครงการดังกล่าวยังได้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท
ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนการรีไซเคิล

ในเดือนสิงหาคม 2553 บริษัทอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานผลิต PET ใหม่โดยบริษัทย่อย อินโดรามา โพลีเมอร์ส
จำกัด (มหาชน) หรือ IRP ซึ่ง IRP จะ ทำการจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนในโรงงานผลิต PET แบบ Solid state
polymerization "SSP" ที่มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี ที่ Port Harcourt ประเทศไนจีเรีย
การลงทุนครั้งนี้ ถือเป็นการลงทุนครั้งแรกของบริษัทในแอฟริกา ที่ซึ่งตลาดมีความต้องการถึง 450,000
ตันต่อปี ในปัจจุบันมีเพียงผู้ผลิต PET รายเดียวเท่านั้นในแอฟริกา
โรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554
และคาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท
ในเดือนพฤษภาคม 2553 บริษัทอนุมัติการเพิ่มสายการผลิตเม็ดพลาสติก PET ภายในบริเวณโรงงาน Indorama
Polymers Rotterdam BV ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติก PET อีก 190,000 ตัน
ทำให้กำลังการผลิตทั้งหมดของโรงงานเป็น 390,000 ตัน
การขยายโรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการผลิตได้ภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555
การขยายโรงงานครั้งนี้ทำให้เกิดการว่าจ้างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้
ยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทในยุโรป และเพิ่มการบริโภค PTA ภายในกลุ่ม จากโรงงานผลิต PTA ใน
Rotterdam และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากบริษัทในกลุ่มที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน
อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการประหยัดต่อขนาดด้วย การขยายโรงงานนี้คาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท

ภายหลังเสร็จสิ้นแผนการเข้าซื้อและการขยายกิจการทั้งหมด
บริษัทจะมีข้อได้เปรียบในการบริหารกิจการในระดับภูมิภาค ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 7.6
ล้านตันต่อปี (รวมกิจการร่วมทุน Ottana Polimeri, Trevira และ Polyprima)
บริษัทจะกลายเป็นผู้นำตลาดทั้งในประเทศไทย อเมริกาเหนือ และยุโรป
กำลังการผลิตปี 2553 กำลังการผลิตปี 2554 กำลังการผลิตที่จะพร้อมดำเนินงานภายในปี 2556
ล้านตันต่อปี ร้อยละ ล้านตันต่อปี ร้อยละ ล้านตันต่อปี ร้อยละ
เอเชีย 1.9 51 2.5 43 3.5 46
ตะวันออกกลางและแอฟริกา - - 0.1 1 0.1 1
ยุโรป 1.2 33 1.6 28 2.3 31
อเมริกาเหนือ 0.6 16 1.6 28 1.6 22
รวม 3.7 100 5.8 100 7.6 100



ข้อสังเกต 1 :
ข้อมูลทางการเงินรวมภายหลังการตัดรายการระหว่างกันในบริษัทในกลุ่ม (หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ)
ทำให้อาจไม่เท่ากับยอดรวมของแต่ละส่วนธุรกิจ

*กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับงวดหกเดือน ปี 2554
ได้รวมกำไรพิเศษสุทธิจำนวน 203 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,176 ล้านบาท) ซึ่งประกอบด้วย
กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบจากการเข้าซื้อกิจการ จำนวน 214 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,523
ล้านบาท) (รายละเอียดแสดงอยู่ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 เรื่อง การเข้าซื้อบริษัทย่อย
ในงบการเงินสอบทานรวม) และรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการระหว่างไตรมาส จำนวน 11
ล้านเหรียญสหรัฐ (347 ล้านบาท) รายการพิเศษดังกล่าวนี้ได้ถูกบันทึกใน ไตรมาสที่ 1 ของปี 2554
ยกเว้นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (23 ล้านบาท) ซึ่งบันทึกใน
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554

กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 และสำหรับงวดหกเดือน
ปี 2553 ได้รวมกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบ จากการเข้าซื้อกิจการสาธารณูปโภคในเมือง
Rotterdam ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 จำนวน 17 ล้านเหรียญสหรัฐ (563 ล้านบาท)

กำไรหลักก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) ได้หักรายการกำไร
ขาดทุนจากสินค้าคงเหลือออกจากกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่ายที่รายงานไว้ (Reported EBITDA) รายการกำไร
ขาดทุนจากสินค้าคงเหลือเกิดจากราคาของวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือที่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นงวดที่แล้วจนถึงสิ้น
งวดปัจจุบัน กำไรในสินค้าคงเหลือจะทำให้ต้นทุนขายลดลง
และขาดทุนจากสินค้าคงเหลือจะทำให้ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น

กำไรก่อนหักภาษีเงินได้ และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เกิดจากการหักกำไรพิเศษ
อันได้แก่กำไรจากการต่อราคาซื้อ และรายการกำไร ขาดทุนจากสินค้าคงเหลือในงวด
ซึ่งเกิดจากราคาของวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือที่เปลี่ยนแปลงจากสิ้นงวดที่แล้วจนถึงสิ้นงวดปัจจุบัน


ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 บริษัทได้ใช้มาตรฐานการายงานทางการเงินที่ปรับปรุงใหม่ (TFRS)
ตามที่ประกาศใช้โดยสภาวิชาชีพฯ ในการจัดทำงบการเงิน ซึ่งครอบคลุมถึงเรื่อง การนำเสนองบการเงิน
การบันทึกบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และ ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน
รายการส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 ถูกปรับปรุงจำนวน 284 ล้านบาท เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ
รายละเอียดแสดงอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
ในงบการเงินสอบทานรวม


การคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ : รายงานฉบับนี้ได้รวมถึงการคาดการณ์ถึงแนวโน้มธุรกิจ
ทั้งในปริมาณความต้องการในสินค้าของบริษัทและผลกระทบจากแผนงานดำเนินธุรกิจ
การประมาณการดังกล่าวมาจากข้อมูลข้างต้น การประมาณการภายใน สมมติฐานของฝ่ายบริหาร และแผนงาน
ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ในอนาคต
(ยังมีต่อ)