คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ


ที่ IVL 002/11/2011
9 พฤศจิกายน 2554

เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรื่อง ขอนำส่งงบการเงินสอบทานสำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 และสำหรับงวดเก้าเดือน ปี 2554 ของบริษัท
อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) และคำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ

ทางฝ่ายจัดการของบริษัท ขอนำส่งเอกสารดังต่อไปนี้

1. สำเนางบการเงินสอบทานรวมและงบการเงินสอบทานเฉพาะบริษัท สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2554
และสำหรับงวดเก้าเดือน ปี 2554 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2. คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2554
และสำหรับงวดเก้าเดือน ปี 2554 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
3. รายงานสรุปผลการดำเนินงาน แบบฟอร์ม 45-3 สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2554
และสำหรับงวดเก้าเดือน ปี 2554 (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)


จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ



(นายอาลก โลเฮีย)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ




เลขานุการบริษัท
โทรศัพท์: +66 (0) 2661-6661
โทรสาร: +66 (0) 2661-6664


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
คำอธิบายและบทวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานรวม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 และสำหรับงวดเก้าเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2554


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL รายงานกำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้
ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) สำหรับงวดเก้าเดือน ปี 2554 เท่ากับ 515 ล้านเหรียญสหรัฐ
(15,623 ล้านบาท) และกำไรสุทธิหลักรวมหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (ไม่รวมรายการพิเศษ)
เท่ากับ 325 ล้านเหรียญสหรัฐ (9,837 ล้านบาท) ฐานะทางการเงินรวมยังคงแข็งแกร่งขึ้น และณ วันที่ 30
กันยายน 2554 อัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัทลดลงจากร้อยละ 48 เป็นร้อยละ 39
และมีสภาพคล่องสูงถึง 1,110 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
และวงเงินสินเชื่อที่ยังมิได้เบิกใช้

ข้อมูลทางการเงินที่สำคัญ
ล้านเหรียญสหรัฐ


ไตรมาส 3/2554 ไตรมาส 2/2554 ไตรมาส 3/2553 เก้าเดือน ปี2554 เก้าเดือน
ปี2553 สิบสองเดือน สิ้นสุด
ไตรมาส 3/2554 สิบสองเดือน
สิ้นสุด
ไตรมาส
3/2553
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ 31.17 30.75 30.42 31.17 30.42 31.17 30.42
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อยูโร 42.24 44.52 41.41 42.24 41.41 42.24 41.41
*รายได้จากการขายรวม 1,689 1,692 752 4,708 2,222 5,552 2,847
PET 1,214 1,199 460 3,279 1,350 3,768 1,708
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 230 212 104 630 309 751 406
PTA 255 285 188 810 563 1,044 733
*กำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) 153 147 114 515 292
657 373
PET 103 103 63 327 168 397 207
โพลีเอสเตอร์ และเส้นใยจากขนสัตว์ 25 25 19 93 44 119 56
PTA 22 22 34 101 84 145 111
กำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 120 79 92 562 200 696 240
*รายการพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อกิจการ 34 (1) 23 237 40 273 39
กำไรสุทธิหลักจากการดำเนินงาน หลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 86 80 68 325 160
423 201
รายจ่ายฝ่ายทุน (CAPEX) 74 65 18 855 86 982 126
หนี้สินสุทธิ 1,238 1,168 948 1,238 948 1,238 948
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน 0.6 0.6 1.0 0.6 1.0 0.6 1.0
อัตราความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย 9.1 9.3 11.0 11.2 10.0 11.4 9.4
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 25% 16% 45% 50% 38% 49% 35%
อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท 15% 14% 19% 21% 16% 20% 15%
*อ้างถึงข้อสังเกต1 หน้า 10

เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมโดยรวมทั่วโลก โดยเฉพาะวิกฤติหนี้ยุโรป และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น
(ในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไทย)
ทำให้ราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีความผันผวนเป็นอย่างมาก
เป็นผลให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่เดือน กันยายน 2554

แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น ธุรกิจของบริษัทฯที่มีการกระจายอยู่ทั่วโลก
และมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ทำให้การป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ
อีกทั้งบริษัทฯสามารถรักษาระดับการผลิตให้อยู่ในระดับสูง
เนื่องจากมีกิจการที่เข้าซื้อและได้รวมอยู่ในผลประกอบการของกลุ่มบริษัทฯ ปริมาณการผลิตในงวดเก้าเดือน ปี
2554 เท่ากับ 3.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่แล้ว
ปริมาณการผลิตในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 เท่ากับ 1.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากไตรมาสที่ 2 ปี 2554 และ
ร้อยละ 47 จากไตรมาสที่ 3 ปี 2553

อัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตนี้ได้รวมผลกระทบจากปริมาณผลิตที่ลดลง
จากการหยุดดำเนินการผลิตในโรงงานอัลฟ่าเพ็ท รัฐอัลบามา สหรัฐอเมริกา เนื่องมาจากพายุทอร์นาโดพัดผ่าน
และในโรงงาน อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ (IPI)
ที่จังหวัดระยองจากความขัดข้องในสายการผลิตที่ทำให้เกิดความเสียหาย และโรงงานที่ลพบุรี
เนื่องจากอุทกภัยในขณะนี้
ความเสียหายต่อทรัพย์สินนี้ได้รับเงินชดเชยเต็มจำนวนจากกรมธรรม์ประกันความเสียหายของทรัพย์สิน
สินค้าคงเหลือ และ ความเสียหายจากการขัดข้องทางธุรกิจ (Business Interruption) ซึ่งเงินชดเชยดังกล่าว
จะได้รับในไตรมาสต่อๆไป ภายหลังจากการประเมิณความเสียหายทั้งหมดเสร็จสิ้น
แผนภาพข้างล่างนี้แสดงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตเปรียบเทียบไตรมาสต่อไตรมาส



ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของกำไรรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่าย (Consolidated EBITDA) และ กำไรหลักรวมก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา
และค่าตัดจำหน่าย (Core EBITDA) ในงวดเก้าเดือน ปี 2554 Consolidated EBITDA ของบริษัทฯ เท่ากับ 515
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่ Core EBITDA
(ภายหลังปรับปรุงผลกระทบจากกำไรขาดทุนในสินค้าคงเหลือ) เท่ากับ 473 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60
เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา

Consolidated EBITDA ของบริษัทฯในไตรมาสที่3 ของปี 2554 เท่ากับ 153 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4
เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 และร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ในขณะที่ Core
EBITDA (ภายหลังปรับปรุงผลกระทบจากกำไรขาดทุนในสินค้าคงเหลือ) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 จะเท่ากับ 135
ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11
เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 Core EBITDA ที่ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว
เนื่องมาจากอัตรากำไรในธุรกิจ PTA ในทวีปเอเชีย ต่ำลง ส่งผลต่อ Core EBITDA ของกลุ่มธรกิจ PTA/PET
โดยรวม และ กลุ่มธุรกิจ PTA/Polyester โดยรวม ต่ำลง ราคาฝ้ายคอตต้อนที่เพิ่มสูงขึ้นในก่อนหน้านี้
ได้กลับมาสู่ภาวะปกติ ทำให้ราคาห่วงโซ่มูลค่าโพลีเอสเตอร์ลดลง

ตารางข้างล่างนี้แสดงถึง Consolidated EBITDA และ Core EBITDA ในปี 2554

(ล้านเหรียญสหรัฐ ยกเว้นข้อมูลต่อตัน)
ไตรมาสที่ 3 ปี 2554 งวดเก้าเดือน ปี 2554
Consolidated EBITDA 153 515
กำไรขาดทุนในสินค้าคงเหลือ -18 -42
Core EBITDA 135 473
Reported EBITDA ต่อตัน $127 $156
Core EBITDA ต่อตัน $113 $143


บริษัทฯ รายงานกำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือ (รวมรายการพิเศษ) เท่ากับ 562 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในงวดเก้าเดือน ปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 181 เมื่อเทียบกับ งวดเก้าเดือน ปี 2553 ซึ่งเท่ากับ 200
ล้านเหรียญสหรัฐ รายการพิเศษในงวดเก้าเดือน ปี 2554 ซึ่งได้รวมกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ
หรือค่าความนิยมติดลบจากการเข้าซื้อกิจการที่เสร็จสิ้นในปีนี้
หักด้วยค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการสุทธิ เท่ากับ 237 ล้านเหรียญสหรัฐ
กำไรสุทธิหลังภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือ (รวมรายการพิเศษ) เท่ากับ 120 ล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาสที่ 3
ของปี 2554 สูงกว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ซึ่งเท่ากับ 79 ล้านเหรียญสหรัฐ และสูงกว่าไตรมาสที่ 3 ของปี
2553 ซึ่งเท่ากับ 92 ล้านเหรียญสหรัฐ รายการพิเศษในไตรมาสนี้เท่ากับ 34 ล้านเหรียญสหรัฐ
จากส่วนแบ่งกำไรร้อยละ 75 ของกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ Trevira GmbH ที่เข้าซื้อเสร็จสิ้นเมื่อ 1
กรกฎาคม 2554

การออกห้นกู้ครั้งแรกในสกุลเงินบาท
ระหว่างไตรมาสที่ 3 ปี 2554 บริษัทฯได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ A+ โดยทริสเรทติ้ง
และได้ออกหุ้นกู้จำนวน 6 พันล้านบาท ชุดอายุ 5 ปี 7 ปี และ 10 ปี การออกหุ้นกู้เสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม
ปี 2554 โดยบริษัทฯได้ยื่นจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (Green-shoe option) สำหรับวงเงินที่ออกทั้งหมดรวม 7.5
พันล้านบาท

อุทกภัยในประเทศไทย
อุทกภัยในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโรงงานของบริษัทฯที่ตั้งอยู่ที่ลพบุรี
ทำให้ต้องหยุดดำเนินการผลิตตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2554
โรงงานที่ลพบุรีที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมประกอบด้วยโรงงานผลิต PET เส้นใยจากขนสัตว์ และ บรรจุภัณฑ์
ความเสียหายทั้งหมดนี้จะได้รับเงินชดเชยเต็มจำนวนจากกรมธรรม์ประกันความเสียหายจากน้ำท่วมต่อทรัพย์สิน
สินค้าคงเหลือ และ ความเสียหายจากการขัดข้องทางธุรกิจ (Business Interruption)
บริษัทฯได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อจะฟื้นฟูโรงงานให้กลับมาดำเนินงานตามปกติโดยเร็วที่สุด
ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นและกระบวนการปรับปรุงซ่อมแซม
โดยเริ่มมีการปรึกษากับบริษัทประกันและผู้ประเมิน
นอกจากนี้ยังมีการประชุมกับผู้รับเหมาและคู่ค้าเพื่อเตรียมการฟื้นฟูทันทีที่น้ำลดระดับลง
ในขณะนี้ระดับน้ำในโรงงานได้ลดแล้วแต่ยังไม่ถึงระดับที่ผู้บริหารและผู้ประเมินจะสามารถเข้าไปสำรวจความเส
ยหายโดยละเอียดได้ รายได้จากโรงงานเหล่านี้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 และงวดเก้าเดือน ปี 2554 เท่ากับ 71
ล้านเหรียญสหรัฐ และ 234 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

บริษัทฯมีแผนรองรับภาวะฉุกเฉินสำหรับส่วนงานหลักที่โรงงานในจังหวัดระยอง ประเทศไทย
บริษัทฯได้ถือโอกาสนี้กล่าวขอบคุณพนักงานสำหรับความร่วมมือและความพยายามอย่างยิ่งในการรักษาทรัพย์สินของ
บริษัทฯ และดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายของบริษัทฯให้เหลือน้อยที่สุด

แนวโน้มธุรกิจ

IVL มีผลดำเนินงานที่โดดเด่นตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในปี 2551
บริษัทฯยังคงนำเสนอผลประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากผลประกอบการล่าสุด 12 เดือน
มีอัตราผลตอบแทนต่อเงินทุนของบริษัท และ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ ร้อยละ 20 และ 49
ตามลำดับ

เมื่อมองไปในปี 2555 และปีต่อๆไป บริษัทฯมีโครงการสำคัญหลายโครงการที่จะเริ่มดำเนินการภายใน 36
เดือนข้างหน้านี้ รายได้ต่อปีที่จะได้จากโครงการเหล่านี้คิดจากราคาปัจจุบัน จะเท่ากับ 2,100
ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับรายได้ย้อนหลัง 12 เดือนล่าสุด

ความลังเลที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่ธุรกิจเคยมีประสบการณ์มาแล้วในปลายปี 2551
และในตอนนั้นตลาดได้กลับมาฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 และเติบโตอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งประเทศกรีซได้เกิดวิกฤติทางการเงิน เป็นผลให้เกิดความไม่แน่นอนในตลาดอีกครั้งในปัจจุบัน

ธุรกิจของบริษัทฯในวันนี้มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งมากกว่าที่เคยเป็นมา
ซึ่งมีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน เท่ากับ 0.63 เท่า และมีสภาพคล่องมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้บริษัทฯสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่ยังจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากการเข้าซื้อกิจการที่ผ่านการพิจารณาโดยละเอียดและคาดว่า
จะเพิ่มมูลค่าแก่กิจการโดยรวม และจากการขยายกิจการที่มีอยู่อย่างเหมาะสม

เนื่องจากลักษณะของโพลีเอสเตอร์ที่จัดหาง่าย และเป็นสินค้าอุปโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (อาหาร
เครื่องดื่ม และเสื้อผ้า) ทำให้ความต้องการในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯเติบโตทั่วทุกภูมิภาค
และทุกโรงงานผลิตของบริษัทฯมีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูง การประหยัดต่อขนาดทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ
บริษัทฯคาดว่าจะได้รับผลดีจากการที่บริษัทมีโรงงานอยู่ทั่วภูมิภาคหลักของโลก ในฐานะผู้นำของตลาด
และการควบรวมในอุตสาหกรรม การลงทุนในนวัตกรรม หรือสินค้าเพิ่มมูลค่าจะทำให้อัตรากำไรโดยรวมเพิ่มมากขึ้น
และจะเป็นประโยชน์ต่อไปอีกในภายภาคหน้า

โครงการที่ประกาศในไตรมาสที่ 3 จนถึง ไตรมาสที่ 4 ของปี 2554

โครงการที่ได้รับการอนุมัติตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน
ในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554
ได้มีมติอนุมัติการลงทุนในโรงงานรีไซเคิลใหม่ในยุโรป และประเทศไทย
และลงทุนในธุรกิจเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์โดยใช้เทคโนโลยีระดับสูงในประเทศไทยและอินโดนีเซีย
โครงการเหล่านี้เป็นโครงการรีไซเคิลเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว และเป็นธุรกิจพิเศษที่สามารถเพิ่มมูลค่า
และอัตรากำไรให้แก่สินทรัพย์ที่มีอยู่เดิม โดยมีรายละเอียดต่างๆดังนี้:

เดือนกันยายน 2554 บริษัทฯได้ลงนามในสัญญาการซื้อขายหุ้นกับ WIT Beteiligungs GmbH และ Wellman
International Trading ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Aurelius AG ("ผู้ขาย") โดยเข้าถือหุ้นร้อยละ 100
ของกิจการ รีไซเคิล และผลิตเส้นใยของ Wellman International ในทวีปยุโรป
บริษัทฯคาดว่าการซื้อกิจการดังกล่าว จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2554
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการขออนุมัติตามกฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องธุรกิจนี้ ประกอบด้วยโรงงานจำนวน 3 แห่ง
ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ซึ่งประกอบด้วย โรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ตั้งอยู่ที่เมือง Mullagh
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ซึ่งมีกำลังการผลิตมากกว่า 80,000 ตัน โรงงานรีไซเคิล ที่เมือง Spijik
ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีกำลังการผลิตมากกว่า 45,000 ตัน และที่เมือง Verdun ประเทศฝรั่งเศส
ซึ่งมีกำลังการผลิตที่ 28,000 ตัน
โรงงานที่สาธารณรัฐไอร์แลนด์สามารถแปรรูปเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่เหลือใช้ (waste polyester)
ให้เป็นเส้นใยรีไซเคิลได้ทั้งหมด ขวดพลาสติกที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว จะถูกนำมาบดให้แตกละเอียด
และผสมกับของเสียชนิดอื่นๆ เพื่อผลิตเส้นใยที่ใช้ในผลิตภัณท์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมอาชีวอนามัย (Hygiene
Industry) การซื้อกิจการในครั้งนี้ จะช่วยให้บริษัทฯ เข้าถึงความรู้ด้านการผสมรีไซเคิลเพ็ท (rPET)
กับของเสียจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งอาจจะส่งผลให้บริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน)
เป็นบริษัทที่มีของเสียเป็นศูนย์ (zero waste) และมีค่าการปล่อยคาร์บอนที่ต่ำ
อีกทั้งยังสอดคล้องกับความต้องการแบบยั่งยืนของผู้บริโภคในการนำรีไซเคิลของที่ใช้แล้วให้กลับนำมาใช้ใหม่
ได้ การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้
ยังส่งผลดีต่อบริษัทฯในการได้มาซึ่งเทคโนโลยีการรีไซเคิลและการถ่ายทอดความรู้ไปยังธุรกิจอื่นๆ
ของบริษัทในทวีปเอเชียอีกด้วย

เดือนสิงหาคม 2554 การลงทุนในการผลิตเส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล มีกำลังการผลิตอยู่ที่
28,500 ตันต่อปี ภายใต้โครงการนี้ ของที่ถูกทิ้ง/ บริโภคแล้ว ขวด PET
จะถูกรวบรวมและรีไซเคิลไปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกคุณภาพสูงเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่ม
เส้นใยจากขนสัตว์พิเศษเพื่อใช้ผลิตเครื่องแต่งกายภายใต้ตราสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
และเส้นด้ายสีสำหรับยานยนต์และเส้นด้ายที่ไม่ผ่านการทอ บริษัทฯได้ออกตราสินค้า ECORAMA
สำหรับผลิตภัณฑ์เส้นใยและเส้นด้ายโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล และเพิ่งได้รับรางวัลใบประกาศ Green Label
จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย โครงการนี้จะตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
ภายในบริเวณเดียวกับโรงงานของอินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ เงินลงทุนทั้งหมดคาดว่าประมาณ 22.4
ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินงานได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555

เดือนสิงหาคม 2554 การลงทุนในโครงการเส้นใยผสมสำหรับสินค้าอนามัย (Bi-component project for Hygiene
Application) ด้วยกำลังการผลิต 16,000 ตันต่อปี บริษัทฯได้เข้าสู่ตลาดการใช้วัตถุดิบที่ไม่ผ่านการทอ
และเพิ่งเข้าซื้อกิจการผลิตเส้นใยผสมในยุโรป Trevira เพื่อการผลิตสำหรับธุรกิจอนามัยเป็นหลัก
สินค้าอนามัยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ต้องผ่านกระบวนการผลิตชั้นนำ และใกล้ชิดกับผู้บริโภค
เพื่อที่จะสามารถระบุความต้องการในผลิตภัณฑ์ที่ใช้สัมผัสกับผิวหนัง เช่น ผ้าอ้อมเด็ก
ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยของผู้หญิง และอื่นๆ
โครงการใหม่นี้จะทำการผลิตส่วนประกอบหลักที่ใช้ในการผลิตเส้นใยผสมสำหรับสินค้าอนามัย
โดยใช้เทคโนโลยีร่วบกับ Toyobo ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในสาขานี้
โครงการนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ประเทศไทย ใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 21.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินงานได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555

เดือนสิงหาคม 2554 การลงทุนในเส้นใยผสมคุณภาพสูง (FINNE) ที่โรงงาน IVI ที่บริษัทฯเพิ่งเข้าซื้อกิจการมา
(เดิมชื่อ SK Keris) ที่เมือง Tangerang ประเทศอินโดนีเซีย ด้วยกำลังการผลิต 16,000 ตันต่อปี IVI
มีเทคโนโลยีเฉพาะในการผลิตเส้นใยผสม (FINNE) โดยผ่านเพียงหนึ่งกระบวนการผลิต
บริษัทฯจะได้ข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันกว่าบริษัทอื่นที่ยังต้องผ่านสองกระบวนการผลิต
และจะมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มธุรกิจนี้
ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากสำหรับการผลิตเสื้อผ้าชั้นนอก และผ้าม่าน
ซี่งยังมีคู่แข่งขันน้อยรายที่ผลิตได้ ทำให้บริษัทฯมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง
โครงการนี้คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 38.0 ล้านเหรียญสหรัฐ
คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินงานได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556

โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
เดือนมิถุนายน 2554 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้บริษัท Indorama Netherlands B.V.
ซึ่งเป็นบริษัทย่อยเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 50 ของ PT Polyprima Karyesreska ("PT Polyprima") ผู้ผลิตสาร PTA
บริษัท PT Polyprima ตั้งอยู่ที่ Cilegon, West Java ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง
465,000 ตันต่อปี และได้ใช้เทคโนโลยีจาก Invista ซึ่งในขณะนี้ PT Polyprima
อยู่ในระหว่างกระบวนการการปรับโครงสร้างหนี้ หลังจากการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ PT Polyprima
จะมีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯใน PT Polyprima จะลดลงเหลือร้อยละ 41 และ PT
Indorama Synthetics Tbk, (PTIRS) จะถือหุ้นอีกร้อยละ 41 และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆถือหุ้นร้อยละ 18
ทั้งนี้การปรับโครงสร้างดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 PTIRS
เป็นบริษัทในกลุ่มของนายศรี ปรากาซ โลเฮีย และนายอมิต โลเฮีย
ซึ่งเป็นกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารของบริษัท โดยมีกำลังการผลิตโพลีเมอร์ 290,000 ตันต่อปี
ปัจจุบันโรงงานดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการผลิต โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่ 2
ของปี 2555 เมื่อเสร็จสิ้นการบำรุงรักษาที่จำเป็น และการเพิ่มกำลังการผลิต
หลังจากที่ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 500,000
ตันต่อปี ประเทศอินโดนีเซียมีการเติบโต โดยก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านตลาดโพลีเอสเตอร์ ซึ่งปริมาณ PTA
มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น จากการที่บริษัทถือหุ้นใน PT Polyprima
จะเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาวัตถุดิบ PTA
เพื่อใช้สำหรับโรงงานโพลีเอสเตอร์ของบริษัทฯในประเทศอินโดนีเซีย หลังจากที่ได้ดำเนินโครงการ Greenfield
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556 เสร็จสิ้นแล้ว บริษัทฯจะมีกำลังการผลิตโพลีเมอร์ในประเทศอินโดนีเซีย ประมาณ
500,000 ตันต่อปี

เดือนพฤษภาคม 2554 ที่ประชุมกรรมการบริษัท ได้มีมติให้ขยายกำลังการผลิต PTA ที่ Indorama Holdings
Rotterdam BV โดยเพิ่มสายการผลิตใหม่ที่มีกำลังการผลิต 250,000 ตันต่อปี ทำให้โรงงานมีกำลังการผลิตรวม
600,000 ตันต่อปี การขยายกำลังการผลิตนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2556 จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบด้านต้นทุน
และส่งเสริมการควบรวม PTA ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต PET ในทวีปยุโรป ทั้งนี้
บริษัทฯจะมีกำลังการผลิต PTA ในยุโรปเพิ่มขึ้นเป็น 811,000 ตันต่อปี

ในเดือนเมษายน 2554 บริษัทประกาศการขยายโรงงาน การผลิต PET ในทวีปยุโรป ด้วยกำลังการผลิต 220,000
ตันต่อปี การขยายกำลังการผลิตดังกล่าวอยู่ภายในโรงงานผลิต PET
เดิมที่มีอยู่แล้วในประเทศโปแลนด์ภายใต้บริษัท Indorama Polymers Poland S.p.z.o.o
ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด และการใช้ท่อส่ง PTA ร่วมกับบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ผลิต PTA
การขยายกำลังการผลิตคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2556
และจะทำให้เกิดข้อได้เปรียบด้านต้นทุนและเพิ่มกำลังการผลิตทั้งหมดในประเทศโปแลนด์เป็น 370,000 ตันต่อปี
และบริษัทฯจะมีกำลังการผลิต PET ในทวีปยุโรปรวมเท่ากับ 1.4 ล้านตันต่อปี

ในเดือนมีนาคม 2554 บริษัทฯประกาศการก่อตั้งโรงงานผลิต Continuous Polymerization resin ที่กำลังการผลิต
313,000 ตันต่อปี ในเมือง Purwakarta ประเทศ Indonesia ผลผลิตที่ได้จากโรงงานจะกระจายไปสู่ตลาดเส้นใย
เส้นด้ายโพลีเอสเตอร์ และชิป ในประเทศอินโดนีเซีย และภูมิภาคเอเชีย ที่มีความต้องการสูงขึ้น พีที
อินโดรามา ปิโตรเคม อินโดนีเซีย
ซึ่งเป็นบริษัทย่อยใหม่ของบริษัทฯได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซียสำหรับโครงการ Greenfield นี้
โรงงานดังกล่าวคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2556

ในเดือนสิงหาคม 2553 คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้จัดตั้งโครงการ PET รีไซเคิล (Flake to Resins)
ที่กำลังการผลิต 36,000 ตันต่อปี ที่โรงงานอัลฟ่าเพ็ท ประเทศสหรัฐอเมริกา
โครงการนี้สอดคล้องกับความต้องการของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค
กระบวนการและเทคโนโลยีนี้ได้รับการอนุมัติแล้ว และชิ้นส่วนหรือเกล็ด PET (PET flake)
จะถูกป้อนจากภายในพื้นที่โรงงานเดียวกัน โครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 4
ของปี 2554 และคาดว่าจะเพิ่มกำไรแก่บริษัท
และไม่มีผลกระทบที่สำคัญต่ออัตราหนี้สินสุทธิต่อเงินทุนของบริษัท นอกจากนี้
โครงการดังกล่าวยังได้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท
ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนการรีไซเคิล

ในเดือนสิงหาคม 2553 บริษัทอนุมัติให้จัดตั้งโรงงานผลิต PET ใหม่โดยบริษัทย่อย อินโดรามา โพลีเมอร์ส
จำกัด (มหาชน) หรือ IRP ซึ่ง IRP จะ ทำการจัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนในโรงงานผลิต PET แบบ Solid state
polymerization "SSP" ที่มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี ที่ Port Harcourt ประเทศไนจีเรีย
การลงทุนครั้งนี้ ถือเป็นการลงทุนครั้งแรกของบริษัทในแอฟริกา ที่ซึ่งตลาดมีความต้องการถึง 450,000
ตันต่อปี ในปัจจุบันมีเพียงผู้ผลิต PET รายเดียวเท่านั้นในแอฟริกา
โรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555
และคาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท
ในเดือนพฤษภาคม 2553 บริษัทอนุมัติการเพิ่มสายการผลิตเม็ดพลาสติก PET ภายในบริเวณโรงงาน Indorama
Polymers Rotterdam BV ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติก PET อีก 190,000 ตัน
ทำให้กำลังการผลิตทั้งหมดของโรงงานเป็น 390,000 ตัน
การขยายโรงงานดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการผลิตได้ภายในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555
การขยายโรงงานครั้งนี้ทำให้เกิดการว่าจ้างงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้
ยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทในยุโรป และเพิ่มการบริโภค PTA ภายในกลุ่ม จากโรงงานผลิต PTA ใน
Rotterdam และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากบริษัทในกลุ่มที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน
อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการประหยัดต่อขนาดด้วย การขยายโรงงานนี้คาดว่าจะเพิ่มมูลค่ากำไรแก่บริษัท

ภายหลังเสร็จสิ้นแผนการเข้าซื้อและการขยายกิจการทั้งหมด
บริษัทจะมีข้อได้เปรียบในการบริหารกิจการในระดับภูมิภาค ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 7.7
ล้านตันต่อปี (รวมกิจการร่วมทุน Ottana Polimeri, Trevira และ Polyprima ซึ่งจะได้รับเป็นส่วนแบ่งกำไร)
บริษัทจะกลายเป็นผู้นำตลาดทั้งในประเทศไทย อเมริกาเหนือ และยุโรป




กำลังการผลิตปี 2553 กำลังการผลิตปี 2554 กำลังการผลิตที่จะพร้อมดำเนินงานภายในปี 2556
ล้านตันต่อปี ร้อยละ ล้านตันต่อปี ร้อยละ ล้านตันต่อปี ร้อยละ
*กิจการที่ผลประกอบการรวมอยู่ในงบการเงินรวม (Consolidated)
เอเชีย 1.9 58 2.5 47 3.0 44
ตะวันออกกลางและแอฟริกา - - - - 0.1 1
ยุโรป 0.8 24 1.1 21 1.9 29
อเมริกาเหนือ 0.6 18 1.7 32 1.7 26
รวม 3.3 100 5.3 100 6.7 100

*กิจการที่ผลประกอบการบันทึกเป็นส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุน (Equity Income)
เอเชีย - - - - 0.5 50
ยุโรป 0.4 100 0.5 100 0.5 50
รวม 0.4 100 0.5 100 1.0 100

รวม 3.7 100 5.8 100 7.7 100
*กำลังการผลิต ปริมาณการผลิต ปริมาณการขายและ อัตราการผลิต
ที่รายงานไปนั้นรวมเฉพาะผลประกอบการของกิจการที่รวมอยู่ในงบการเงินรวม (Consolidated)
ไม่รวมถึงผลประกอบการของกิจการที่บันทึกในรูปของเป็นส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุน (Equity Income)















ข้อสังเกต 1 :
ข้อมูลทางการเงินรวมภายหลังการตัดรายการระหว่างกันในบริษัทในกลุ่ม (หรือระหว่างกลุ่มธุรกิจ)
ทำให้อาจไม่เท่ากับยอดรวมของแต่ละส่วนธุรกิจ

*กำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับงวดเก้าเดือน ปี 2554
ได้รวมกำไรพิเศษสุทธิจำนวน 237 ล้านเหรียญสหรัฐ (7,189 ล้านบาท) ซึ่งประกอบด้วย
กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบจากการเข้าซื้อกิจการ จำนวน 249 ล้านเหรียญสหรัฐ (7,556
ล้านบาท) (รายละเอียดแสดงอยู่ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 เรื่อง การเข้าซื้อบริษัทย่อย
ในงบการเงินสอบทานรวม) และรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการระหว่างปี จำนวน 12
ล้านเหรียญสหรัฐ (367 ล้านบาท) รายการพิเศษดังกล่าวนี้ได้ถูกบันทึกในงวดหกเดือนแรก ของปี 2554
ยกเว้นกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ หรือค่าความนิยมติดลบจากการเข้าซื้อกิจการ Trevira จำนวน 35
ล้านเหรียญสหรัฐ (1,033 ล้านบาท) และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการที่เพิ่มขึ้นจำนวน 1
ล้านเหรียญสหรัฐ (36 ล้านบาท) ซึ่งบันทึกใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 กำไรการต่อรองราคาซื้อกิจการ Trevira
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554
นี้เป็นส่วนหนึ่งของส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในกิจการที่มีการควบคุมร่วมกันในงบการเงิน

กำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสำหรับงวดเก้าเดือน ปี 2553
(ยังมีต่อ)