บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน พร้อมด้วย 5 องค์กรพันธมิตร ได้แก่ วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัท TikTok ประเทศไทย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) SDG Lab และ GLab ประกาศผลผู้คว้ารางวัลชนะเลิศจากโครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน ปี 2566 (Circular Innovation Challenge 2023) คือ ทีม SCPB จากประเทศไทย เจ้าของผลงานสร้างสรรค์นวัตกรรมอิฐก่อสร้างที่ใช้ประโยชน์จากขยะ

โครงการ Circular Innovation Challenge 2023 เป็นการแข่งขันแฮ็กกาธอน ระยะเวลา 5 สัปดาห์ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังให้เกิดผู้นำทางความคิดในอนาคตผ่านนวัตกรรมที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Innovation โดยกิจกรรมนี้ถูกออกแบบให้มีเวิร์คช้อปและกิจกรรมที่เข้มข้นเพื่อเตรียมนวัตกรให้พร้อมด้วยทักษะที่จำเป็นสำหรับการคิดค้นโซลูชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันรอบสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็น การเปิดเวทีอภิปรายในหัวข้อเกี่ยวกับความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโดย United Nations Development Program (UNDP) และกิจกรรมเวิร์คช้อปด้านการสร้างคอนเทนต์ โดย TikTok ตลอดจนการอบรมเกี่ยวกับการนำเสนอผลงาน และการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ

โครงการนี้เปิดรับสมัครนวัตกรที่มีอายุระหว่าง 16-30 ปี จากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 830 ทีม รวมจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น 3,333 คน จาก 11 ประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้ มีทีมที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าสู่การแข่งขันในรอบสุดท้ายทั้งหมด 10 ทีม ได้แก่ ทีมจากราชอาณาจักรกัมพูชา (1 ทีม) อินโดนีเซีย (3 ทีม) ฟิลิปปินส์ (2 ทีม) ประเทศไทย (3 ทีม) และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (1 ทีม) ซึ่งทั้ง 10 ทีมนี้จะได้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันรอบสุดท้าย

ทีมผู้ชนะเลิศในปีนี้ ได้แก่ ทีม SCPB จากประเทศไทย ซึ่งได้รับรางวัลจากผลงานนวัตกรรมที่เรียกว่า “Semi-Calcite Passive Brick” หรืออิฐบล็อกประสานกึ่งแคลไซต์ ซึ่งเป็นวัสดุก่อสร้างที่ผสานความแข็งแรงทางโครงสร้างให้สามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติในการควบคุมสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน อาทิ ความสามารถในการควบคุมความชื้น และการควบคุมอุณหภูมิ ผลิตภัณฑ์นี้มอบประโยชน์ที่เหนือชั้นให้กับทั้งแก่ช่างก่อสร้างและสิ่งแวดล้อมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยช่วยเสริมประสิทธิภาพในการก่อสร้าง ลดการใช้พลังงานผ่านฉนวนกันความร้อนที่มีคุณภาพดีขึ้น และเอื้อต่อสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นด้วยการนำแนวคิดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ โดยวัสดุต้นทางที่ใช้ในการทำอิฐบล็อกนั้นมาจากระบบการหมุนเวียนภายในท้องถิ่น กระบวนการนี้เริ่มต้นด้วยเปลือกหอย พลาสติก และเศษแก้ว ที่เก็บรวบรวมจากชายฝั่ง ริมฝั่งแม่น้ำ หรือร้านอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม: https://www.indoramaventures.com/th/investor-relations/newsroom/press-releases/2101